1 |
|
ป๊ด (ก.)
- พูดโกหก
|
2 |
|
ประแจ
- กุญแจ
|
3 |
|
ประซะประสาง (ก.)
- การปะพรมน้ำมนต์ไล่อัปมงคลออก
|
4 |
|
ประโดก
- ชื่อหมู่บ้านในตำบลหมื่นไวย อำเภอเมืองนครราชสีมา โดก เป็นภาษาเขมร แปลว่า ไม้กระโดน บ้านนี้เป็นป่าโดกต่อมากลายเสียงเป็นประโดก มีชื่อเสียงในการทำขนมจีน
|
5 |
|
ประตูชุมพล
- ประตูเมืองอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองโคราช ใช้ระดมไพร่พลเมื่อเกิดศึกสงคราม ปัจจุบันอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีประดิษฐานอยู่หน้าประตูนี้
|
6 |
|
ประตูตะวันออก
- ประตูพลล้าน เป็นประตูเมืองอยู่ด้านทิศตะวันออก เล่าสืบกันมาว่า ถ้าจะทำศึกใหญ่ต้องระดมไพร่พลเป็นล้าน ก็ให้ถือเอาเคล็ดหรือเอาฤกษ์เอาชัยเคลื่อนทัพออกประตูนี้ ในสมัยนั้นน่าจะไม่มีไพร่พลพอแสนพอล้าน แต่จะต้องไประดมจากเมืองใกล้เคียง เช่น เมืองนครจันทึก เมืองพิมาย เมืองนางรอง เมืองบุรีรัมย์ เมืองจัตุรัส เมืองชัยภูมิ เป็นต้น มาสมทบ
|
7 |
|
ประตูน่ำ
- ประตูพลแสน เป็นประตูเมืองอยู่ทางทิศเหนือใกล้กับลำน้ำ คือ ลำตะคอง จึงเรียกว่าประตูน้ำ เล่าสืบกันมาว่า ถ้าจะระดมไพร่พลเป็นแสนทำศึกก็ให้ถือเอาเคล็ด หรือเอาฤกษ์เอาชัยให้เคลื่อนทัพออกประตูนี้
|
8 |
|
ประตูผี
- ประตูไชยณรงค์ เป็นประตูเมืองอยู่ทางทิศใต้ ไชยณรงค์ แปลว่า ชัยชนะ เมื่อได้ชัยชนะจะยกทัพเข้าประตูนี้ ถ้ามีการล่าถอยก็จะออกประตูนี้เพื่อไปตั้งหลัก ที่เรียกว่า ประตูผีหรือประตูผีออกเพราะเมื่อมีคนตายจะต้องนำศพหรือแม้แต่นักโทษประหารก็ต้องนำออกประตูนี้
|
9 |
|
ประทาย
- คำว่า ประทาย เป็นภาษาเขมร แปลว่า ค่าย ป้อม
- ชื่ออำเภอหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา เดิมเล่าสืบกันมาว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ ทรงขยายอาณาเขตของขอมได้ยกทัพมาตั้งค่ายพักแรม ณ ที่นี้ ต่อมาเป็นหมู่บ้าน เรียกว่า บ้านประทาย
|
10 |
|
ประทายอายุ
- กองทรายที่ก่อในการทำพิธีค้ำโพธิ์ค้ำไทร ต่อสะพาน ดูคำว่า ค่ำโพธิ์ค่ำไทร ต่อสะพาน ประกอบ
|
11 |
|
ประไร
- เป็นไร
|
12 |
|
ปราบที่
- ทำพื้นที่ให้ราบเรียบ ปรับพื้นที่ให้เตียน
|
13 |
|
ปร้าว
- พรู อาการที่เคลื่อนไหวมาพร้อม ๆ กันเป็นจำนวนมาก เช่น แตกปร้าว ร่วงปร้าว
|
14 |
|
ปร้า
- ปลาร้า
|
15 |
|
ปรู้
- เสียงที่เปล่งขึ้นด้วยความรำคาญ หรือไม่พอใจ
|
16 |
|
ปลากระโดดเข่าหมวง
- การเล่นอย่างหนึ่ง แบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย เท่า ๆ กัน ฝ่ายหนึ่งเป็นปลา อีกฝ่ายเป็นหมวง (ข้อง) จับมือกันเป็นวงกลมนั่งลงกับพื้นคอยยกมือที่จับกั้นไม่ให้ปลากระโดดเข้าวงกลม (หมวง) ถ้าคนหนึ่งกระโดดเข้าได้ โดยไม่ถูกมือที่จับยกกั้น ฝ่ายหมวงก็จะปล่อยมือให้ปลาที่อยู่นอกวงเข้าไป แล้วพวกปลาก็พยายามกระโดดออก ถ้าถูกมือที่จับกั้นพวกปลาจะมาเป็นหมวงแทน
|
17 |
|
ปลากรึม
- ปลากริม (รูปร่างคล้ายปลากัด)
|
18 |
|
ปลากะตั๊บ
- ปลากำกับ
|
19 |
|
ปลาค่าว
- ปลาเค้า
|
20 |
|
ปลาเจ่า
- ปลาที่หมักด้วยเกลือและข้าวออกรสเปรี้ยวแตกต่างจากที่อื่นที่มีรสออกหวาน
|