ชื่อวิทยาศาตร์ | Dialium cochinchinense Pierre |
ชื่อวงศ์ | LEGUMINOSAE - CAESALPINIOIDEAE |
ชื่ออื่น | นางดำ, หมากเค็ง (นครราชสีมา, ชลบุรี); กาหยี (มลายู - นราธิวาส); เขลง (ภาคกลาง); ยี (ภูเก็ต); หยี (ภาคใต้) |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: | |
ลำต้น | ไม้ขนาดกลางถึงใหญ่ สูงถึง 30 เมตร ไม่ผลัดใบ เปลือกต้นสีเทาอมน้ำตาลแตกเป็นสะเก็ด เปลือกในสีแดง |
ใบ | ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ มีใบย่อย 5 - 9 ใบ เรียงกึ่งตรงข้าม รูปไข่หรือรูปรี โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ |
ดอก | ดอกออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนง ตามปลายกิ่ง ดอกย่อยขนาดเล็กสีขาว ออกดอกเดือนมิถุนายน - กันยายน |
ผล | ผลรูปรี ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่สีดำ เนื้อหุ้มเมล็ดสีน้ำตาลล่อนแยกจากเปลือก เมล็ดแข็ง กลมแบน ผิวมัน ออกผลเดือนกันยายน - ธันวาคม |
รส | ใบอ่อน รสเปรี้ยว เนื้อหุ้มเมล็ดรสเปรี้ยวอมหวาน |
แหล่งที่พบ | ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และป่าคืนสภาพ |
สภาพที่เหมาะสม | ชอบแสงแดดจัด ชอบขึ้นในที่ค่อนข้างชื้น |
การขยายพันธุ์ | เพาะเมล็ด |
การใช้ประโยชน์: | |
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร | ยอดอ่อน ใบอ่อน นำไปปรุงรสทำให้มีรสเปรี้ยว หรือรับประทานเป็นผักสดกับน้ำพริก ลาบ ยำ ผลอ่อนนำมาต้มรับประทาน ผลแก่รับประทานเนื้อ มีลักษณะคล้ายลูกหยี |
พฤกษาพรรณบรรณสาร : ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี