ณ ราชสีมา


รายละเอียด

     ณ ราชสีมา เป็นสกุลพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อ ปี พ.ศ. 2494 สืบเชื้อสายจาก เจ้าพระยากำแหงสงคราม (ทองอิน) ผู้ว่าราชการเมืองนครราชสีมา ท่านผู้นี้มีประวัติแบบเดียวกันกับเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) ว่ากันว่าเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยโปรดพระราชทานเจ้าจอมยวน ซึ่งกำลังตั้งครรภ์อยู่ในแก่เจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น)

     สายสกุล ในเครือ ณ ราชสีมา ของสองเจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น ณ ราชสีมา และเจ้าพระยานครราชสีมา(ทองอินท์ ณ ราชสีมา) หรือ เจ้าพระยากำแหงสงครามรามภักดีอภัยพิริยะปรากรมพาหุ มีดังนี้

     เริ่มแรกเจ้าพระยาฯ ทั้งสองท่านเกี่ยวข้องในฐานะบิดาบุญธรรมและบุตรบุญธรรมกันเท่านั้น เนื่องด้วยเจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น ณ ราชสีมา)ได้รับพระราชทานให้เป็นผู้ถวายการอภิบาลทำนุบำรุงดูแล เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินท์ ณ ราชสีมา) พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งติดครรภ์พระมารดาไปนครราชสีมา คือ เจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงยวน สายสกุลเครือ ณ ราชสีมา จึงใช้ร่วมกันระหว่างสองท่านเจ้าพระยาฯ แยกออกเป็นอย่างชัดเจน มีดังนี้ เนื่องจากมีผู้สับสนอยู่มากและนำข้อมูลไปลงอย่างผิด ๆ ในหลาย ๆ ที่ เลยอยากจะชี้แจงแก้ไขให้ถูกต้องดังนี้

     สกุลที่เคยใช้ร่วมกันมาแต่เดิม และปัจจุบันบุตรหลานท่านเจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น ณ ราชสีมา หรือ ท่านเจ้าคุณตามืด) ใช้กันอยู่โดยมากคือ คำว่า "ณ ราชสีมา" คำเดียวสั้น ๆ ไม่มีอะไรนำหน้าและต่อท้าย

     และยังมีสกุลในเจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น) ที่แยกออกไปอีก มีดังนี้

- รายณสุข

- อธินันทน์/อธินันทน์ ณ ราชสีมา

- กาญจนพิมาย

- พรหมนารท /พรหมนารท ณ ราชสีมา

- เมนะรุจิ/เมนะรุจิ ณ ราชสีมา เหล่านี้เป็นต้น

     ส่วน ราชสกุล ณ ราชสีมา ของบุตรหลานท่านเจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินท์ ณ ราชสีมา) เป็นราชสกุล ในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ราชสกุล คือ ผู้สืบเชื้อสายตรงมาจากพระมหากษัตริย์ไทย) มีดังนี้ 10 ราชสกุล

1. ราชสกุล อินทรกำแหง หรือ อินทรกำแหง ณ ราชสีมา (ลูกหลานบางท่านในเจ้าพระยานครราชสีมา/ปิ่น ณ ราชสีมา บางครอบครัวก็ขอร่วมใช้สกุลส่วนรวมนี้มีบ้างเหมือนกันตัวอย่างคือ ครอบครัว พันตรีผัน อินทรกำแหง ณ ราชสีมา บิดาคุณรัตนาภรณ์ อินทรกำแหง ณ ราชสีมา ท่านนี้เป็นลูกหลานสายเจ้าพระยานครราชสีมา/ปิ่น ณ ราชสีมา จึงไม่ใช่ราชสกุล) (ถ้าจะเป็นราชสกุลเฉพาะสายลูกหลานท่านเจ้าพระยานครราชสีมา/ทองอินท์) ราชสกุลอินทรกำแหงเฉพาะลูกหลานเจ้าพระยานคราชสีมา-ทองอินท์ ณ ราชสีมา เป็นสกุลที่ลูกหลานทุก ๆ บุตรธิดาของท่านมาร่วมใช้ด้วยกันมากที่สุด (สกุลกองกลาง)

2. ราชสกุล ศิริพร หรือ ศิริพร ณ ราชสีมา (ลูกหลานในคุณชายศรีจันทรศิริพร ณ ราชสีมา บุตรชายของท่านเจ้าพระยานครราชสีมา/ทองอินท์ ณ ราชสีมา

3. ราชสกุล มหาณรงค์ หรือ มหาณรงค์ ณ ราชสีมา (ลูกหลานในคุณชายพลาย ณ ราชสีมา หรือ พระมหาณรงค์ เป็นบุตรชายของเจ้าพระยานครราชสีมา/ทองอินท์ ณ ราชสีมา)

4. ราชสกุล เชิญธงไชย หรือ เชิญธงไชย ณ ราชสีมา (ลูกหลานในคุณชายสมบูรณ์ ณ ราชสีมา/พระยาบรมราชบรรหาร เป็นบุตรชายของเจ้าพระยานครราชสีมา/ทองอินท์ ณ ราชสีมา)

5. ราชสกุล อินทโสฬส หรือ อินทโสฬส ณ ราชสีมา (ลูกหลานในคุณชายโสฬส ณ ราชสีมา หรือ พระยาสุริยเดช เป็นบุตรชายของเจ้าพระยานครราชสีมา/ทองอินท์ ณ ราชสีมา)

6. ราชสกุล นิลนานนท์ (ใช้ในลูกหลานในคุณชายช้าง ณ ราชสีมา หรือ พระศรีสิทธิสงคราม เป็นบุตรชายของเจ้าพระยานครราชสีมา/ทองอินท์ ณ ราชสีมา)

7. ราชสกุล เนียมสุริยะ หรือ เนียมสุริยะ ณ ราชสีมา (ใช้ในลูกหลานของคุณชายช้าง ณ ราชสีมา/พระศรีสิทธิสงคราม ซึ่งเป็นบุตรชายของเจ้าพระยานครราชสีมา/ทองอินท์ ณ ราชสีมา)

8. ราชสกุล อินทนุชิต (ใช้ในลูกหลานของคุณชายทัศ ณ ราชสีมา/พระภักดีนุชิต ซึ่งเป็นบุตรชายของเจ้าพระยานครราชสีมา/ทองอินท์ ณ ราชสีมา)

9. ราชสกุล คชวงษ์ (ใช้ในลูกหลานของคุณหญิงพริ้ง ณ ราชสีมา โดยจากบุตรชายคุณหญิงพริ้งคือ หลวงศรีโป๊ะ ณ ราชสีมาหรือ คชวงษ์) คุณหญิงพริ้ง ณ ราชสีมา เป็นธิดาของเจ้าพระยานครราชสีมา/ทองอินท์ ณ ราชสีมา

10. ราชสกุล ชูกฤส (ใช้ในลูกหลานของคุณชายมั่ง ณ ราชสีมาหรือ หลวงเทพภักดี ซึ่งเป็นบุตรชายของเจ้าพระยานครราชสีมา/ทองอินท์ ณ ราชสีมา)

     สรุปความว่า นามสกุลที่ใช้ ในลูกหลานของเจ้าคุณตามืด หรือ ท่านเจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น ณ ราชสีมา) มีดังนี้คือ

1. สกุล ณ ราชสีมา

2. สกุล รายณสุข

3. สกุล อธินันทน์ หรือ อธินันทน์ ณ ราชสีมา

4. สกุล พรหมนารท หรือ พรหมนารท ณ ราชสีมา

5. สกุล กาญจนพิมาย

6. สกุล เมนะรุจิ หรือ เมนะรุจิ ณ ราชสีมา

อ้างอิงโดยละเอียดจากหลักฐานจดหมายเหตุนครราชสีมา ปี 2497 รับรอง โดยกองวรรณคดีประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร

 

หัวเรื่อง

นามสกุลชาวโคราช

หมวดหมู่

บุคคล

คำสำคัญ

นามสกุล

รายการอ้างอิง

  1. จดหมายเหตุนครราชสีมา ปี 2497 รับรองโดยกองวรรณคดีประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร