นายจีระศักดิ์ ประทุมศรี


รายละเอียด

ต้นแบบ  ป้องกันการระบาดของเพลี้ยแป้งโดยหลีกเลี่ยงการปลูกในฤดูแล้ง

แนวคิด  ปลูกมันสำปะหลังในช่วงฤดูฝน เพื่อลดปัญหาการระบาดของเพลี้ยแป้ง

เป้าหมาย-ความต้องการ

      เพิ่มผลผลิตโดยการปรับปรุงบำรุงดิน และจัดการระบบน้ำเพื่อให้สามารถปลูกมันสำปะหลังได้ตลอดทั้งปี

เทคโนโลยีในแปลงต้นแบบ

      เลือกพันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ปลูกและอายุเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงการปลูกในฤดูแล้งเพื่อป้องกันการระบาดของเพลี้ยแป้ง

เทคนิคและข้อคิดเห็น

       เริ่มปลูกมันสำปะหลังร่วมกับครอบครัว มีประสบการณ์ปลูกมันสำปะหลังมากกว่า 30 ปี หลังจากนั้นได้แยกตัวมาทำเองในพื้นที่ 8 ไร่ และนำท่อนพันธุ์ที่ได้ขยายพื้นที่ปลูกเป็น 20 ไร่ และเพิ่มพื้นที่ปลูกมากขึ้น ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง 200 ไร่ จนกระทั่งประสบปัญหาการระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู จึงได้เข้าร่วมเป็นเกษตรกรแปลงต้นแบบของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา เทคโนโลยีแปลงต้นแบบ มีการจัดการดินโดยปลูกข้าวโพดสลับมันสำปะหลังเพื่อใช้เศษซากข้าวโพดในการปรับปรุงบำรุงดิน ไถเตรียมแปลง 2 ครั้ง แล้วยกร่องพร้อมใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 20-30 กิโลกรัมต่อไร่ แช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูก ระยะระหว่างแถว 110 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้น 60-70 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับพันธุ์ที่ปลูก เมื่อมันสำปะหลังอายุ 2-3 เดือน กำจัดวัชพืชครั้งแรกอายุ 1-2 เดือน โดยใช้รถแถกพนมและแรงงานคน ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 สูตร 14-3-7 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ โดยการหว่านแล้วไถกลบ และใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช เมื่ออายุ 8-10 เดือนกำจัดวัชพืชโดยใช้สารเคมี เก็บเกี่ยวอายุ 11-12 เดือน ให้ผลผลิต 4 ตันต่อไร่ เก็บเกี่ยวอายุ 14 เดือน ให้ผลผลิต 6-7 ตันต่อไร่

หัวเรื่อง

เทคโนโลยีและภูมิปัญญาชาวบ้าน พืชไร่--มันสำปะหลัง

หมวดหมู่

เกษตรกรรม

คำสำคัญ

มันสำปะหลัง, เกษตรกร

ข้อมูลการติดต่อ

ที่อยู่:22/3 บ้านหนองบัว หมู่ที่ 1 ตำบลลาดบัวขาว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา 30340

รายการอ้างอิง

  1. เกษตรกรคนเก่ง. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2563, จาก http://at.doa.go.th/cassava/farm_cas.php#