นายสมาน สังวาลรัมย์


รายละเอียด

ต้นแบบ การใช้พันธุ์ดีและปุ๋ยเคมี

แนวคิด มีหลักคิดและนำมาปฏิบัติใช้

เป้าหมาย-ความต้องการ

     - ทดสอบพันธุ์ใหม่ ๆ ที่ให้ผลผลิตสูงในเขตเฉพาะพื้นที่

     - การทดสอบการปรับปรุงดิน เพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง

เทคโนโลยีในแปลงต้นแบบ

      มีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง 200 ไร่ รองพื้นด้วยปุ๋ยมูลไก่ 900 กิโลกรัม/ไร่ หลังจากนั้น ขนต้นพันธุ์มาไว้ที่แปลง และทำการปลูกทันทีหลังจากฝนตก ซึ่งอยู่ระหว่างวันที่ 23 มีนาคม -3 เมษายน ของทุกปี ก่อนทำการปลูก ต้องทำการคัดเลือกท่อนพันธุ์ โดยเลือกเฉพาะท่อน พันธุ์ที่ไส้มีความฉ่ำน้ำ ถ้าไส้มีลักษณะสีขาว จะเป็นลักษณะท่อนพันธุ์ที่ไม่ดี ไส้ฝ่อ เปอร์เซ็นต์ การงอกต่ำ การยกร่องปลูกหรือไม่นั้น พิจารณาพื้นที่เป็นหลัก ถ้าเป็นดินทราย ดินร่วนทราย จะปลูกโดยการยกร่อง เนื่องจากเก็บเกี่ยวง่าย ถ้าเป็นดินร่วนเหนียว ป ลูกโดยไม่ต้องยกร่อง ระยะปลูก 1.15.1.20 x 0.70 เมตร แต่ถ้าเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ ใช้ระยะปลูก 1.20 x 1.00 เมตร ถ้ามันสำปะหลังที่ปล่อยข้ามปี จะใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 8-5-35 อัตรา 25 กิโลกรัม/ไร่ เพื่อระเบิดหัว โดยการหว่านปุ๋ยหลังฝนตกหรือขณะดินมีความชื้น กำจัดวัชพืช ครั้งแรก เมื่อมันสำปะหลังอายุประมาณ 15-20 วัน โดยใช้รถไถเดินตามแถกร่อง เนื่องจาก วัชพืชยังเล็ก สามารถกำจัดได้ง่าย และใช้แรงงานคนถอนวัชพืชที่อยู่รอบๆ ต้น แต่ถ้ามัน สำปะหลังลงหัวและหัวเริ่มมีขนาดโต จะใช้สารเคมีไกลโฟเสทพ่นแทนเครื่องทุนแรง เนื่อง จากเครื่องทุ่นแรงมีผลกระทบต่อราก ถ้ามันสำปะหลังมีการเจริญเติบโตทางลำต้นและ ใบมาก จะตัดแต่งกิ่ง เพื่อให้มันสำปะหลังมีการสร้างหัวมากกว่าการสร้างใบและลำต้น เก็บ ผลผลิตที่อายุ 12-14 เดือน ผลผลิตเฉลี่ย 12 ตัน/ไร่ ส่วนใหญ่ใช้พันธุ์ห้วยบง 60 และขณะ นี้กำลังปลูกทดสอบพันธุ์CMR 35-22-196 หรือพันธุ์เขียวปลดหนี้

เทคนิคและข้อคิดเห็น

- การตัดท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง ดัดแปลงจากเครื่องตัดหญ้าแบบสะพายเหวี่ยง ตัดท่อน พันธุ์ ให้ตรง เพราะถ้าตัดเฉียงจะทำให้ท่อนพันธุ์แตกร้าว นอกจากนี้ การตัดเฉียงทำให้ รากออกเป็นกระจุกที่ปลายเฉียง และการเจริญเติบโตช้า อย่างไรก็ตาม การปลูกมัน สำปะหลัง ต้องปักท่อนพันธุ์ให้ตรง เพราะถ้าปักเฉียง ทำให้ท่อนพันธุ์โดนแสงแดดโดย ตรง ท่อนพันธุ์ไหม้ ทำให้เปอร์เซ็นต์การงอกต่ำ

- การตัดท่อนพันธุ์ยาวหรือสั้นให้ผลไม่แตกต่างกัน แต่ถ้าปลูกในฤดูมรสุม การตัดท่อนพันธุ์ ยาว ทำให้ต้นล้มมากกว่าการตัดท่อนพันธุ์สั้น

- การใช้สารเคมีไกลโฟเสทพ่นกำจัดวัชพืช ต้องให้ใบล่างๆ ของมันสำปะหลังมีสีเหลือง หรือใบร่วงก่อน เพราะถ้าพ่นขณะที่ใบมันสำปะหลังมีสีเขียว จะมีผลต่อการพัฒนา ของหัว มันสำปะหลังที่โดนสารเคมีไกลโฟเสท จะแสดงอาการยอดเหี่ยว แต่การใช้สาร เคมีพาราควอท มีผลเฉพาะใบไหม้แต่ไม่มีผลต่อการพัฒนาของหัว

- มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 72 ให้ผลผลิตสูง แต่เปอร์เซ็นต์แป้งต่ำ ทำให้มีปัญหาการเก็บ ผลผลิตในรูปมันเส้นสำหรับการผลิตเอทานอล โดยมันเส้นพันธุ์ระยอง 72 เก็บไว้ที่ ความชื้น 24% และเมื่อเก็บไว้ประมาณ 3-4 เดือน ความชื้นเพิ่มขึ้นเป็น 27-28% ทำให้ โรงงานผลลิตเอทานอลไม่ชอบพันธุ์ระยอง 72 ด้วย

- มันสำปะหลังพันธุ์ CMR 35-22-196 จำนวนรากมีมากเท่าใด มีจำนวนหัวเท่านั้น แต่ ขนาดหัวเล็กกว่าพันธุ์ห้วยบง 60

- การนำพันธุ์มันสำปะหลังที่ปลูกจากแหล่งดินทรายเขตจังหวัดขอนแก่นมาปลูก เปอร์เซ็นต์ การงอกต่ำ แต่ถ้านำพันธุ์ที่ปลูกจากแถบอำเภอหนองบุญมากไปปลูกบนดินทราย เปอร์เซ็นต์ การงอกสูงกว่า

- มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 7 ไม่ตอบสนองต่อดินในเขตอำเภอหนองบุญมาก แต่พันธุ์นี้ เหมาะสำหรับการปลูกบนดินนา และดินที่ปลูกอ้อย

- ต้องคิดอยู่เสมอว่า ทำอย่างไรให้ผลผลิตต่อไร่สูงที่สุด เพราะต้นทุนสูงขึ้นเรื่อยๆ การลด ต้นทุนค่อนข้างยาก แต่การเพิ่มผลผลิตต่อไร่ สามารถทำได้

หัวเรื่อง

เทคโนโลยีและภูมิปัญญาชาวบ้าน พืชไร่--มันสำปะหลัง

หมวดหมู่

เกษตรกรรม

คำสำคัญ

มันสำปะหลัง, เกษตรกร

ข้อมูลการติดต่อ

ที่อยู่:74 หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา 30410
โทรศัพท์:08 7878 8347

รายการอ้างอิง

  1. เกษตรกรคนเก่ง. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2563, จาก http://at.doa.go.th/cassava/farm_cas.php#