นายสุวรรณ สอนภู่


รายละเอียด

ต้นแบบ การให้น้ำ

แนวคิด การรู้จักคิดและลงมือทำด้วยตนเอง ทำให้สามารถก้าวไกลกว่าเกษตรกรคนอื่น ๆ

เป้าหมาย-ความต้องการ

      ต้องการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังให้ได้ 10 ตันต่อไร่ ต้องการปรับสภาพดินให้มีความร่วนซุยมากขึ้น ต้องการพันธุ์ที่มีการตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ยดี

เทคโนโลยีในแปลงต้นแบบ

      การรู้จักคำนวณราคาปุ๋ยโดยเลือกใช้สูตรปุ๋ยที่เหมาะสมกับมันสำปะหลังจะสามารถลดต้นทุนลงได้ การใช้พันธุ์มันสำปะหลังต้นเตี้ยช่วยให้ง่ายต่อการควบคุมเพลี้ยแป้ง

เทคนิคและข้อคิดเห็น

      เกษตรกรมีประสบการณ์ปลูกมันสำปะหลัง มานานกว่า 13 ปี เดิมปลูกมันสำปะหลังโดยอาศัยน้ำฝนมาโดยตลอด เมื่อเห็นเกษตรกรรายอื่นใช้ระบบน้ำหยดในการปลูกมันสำปะหลังจึงมีความสนใจและเปลี่ยนแนวความคิดมาลองใช้ในพื้นที่ตนเอง เตรียมแปลงปลูกโดยรองพื้นด้วยปุ๋ยมูลไก่ 15 คิวต่อไร่ ไถ 1 ครั้ง พรวน 1 ครั้ง ระยะแถว 120 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้น 60 เซนติเมตร โดยวางสายน้ำหยดเป็นแนวตามแถวปลูก แล้วปล่อยน้ำเพื่อกำหนดระยะระหว่างต้น โดยปักท่อนพันธุ์ตามรูน้ำหยดรูเว้นรู สลับแบบฟันปลาเพื่อล็อคสายน้ำหยดให้อยู่กับที่ (ระยะห่างระหว่างรูน้ำหยดเท่ากับ 30 เซนติเมตร) ให้น้ำหลังปลูก 1 วัน และทุกๆ 10 วัน จนกระทั่งมันสำปะหลังอายุ 4 เดือนหรือมีฝนตกจึงหยุดให้น้ำ หลังปลูกฉีดสารเคมีป้องกันเพลี้ยแป้ง กำจัดวัชพืช 2 ครั้ง โดยใช้สารเคมีเมื่ออายุ 20-30 วัน และครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 2 เดือน การใส่ปุ๋ยเคมีครั้งแรก เมื่อมันสำปะหลังอายุ 20-30 วัน จะใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมกับมันสำปะหลังโดยการให้ปุ๋ยสูตร 15-7-18 ตามสายน้ำหยด อัตรา 5-10 กิโลกรัมต่อไร่ เดือน เมื่อมันสำปะหลังอายุ 3 เดือน และ 6 เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร 15-5-22 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ โดยการหว่าน เก็บเกี่ยวเมื่อมันสำปะหลังอายุ 15 เดือน ผลผลิต 8 ตันต่อไร่ เพิ่มขึ้นจากการไม่ใช้ระบบน้ำที่มีผลผลิตเพียง 5 ตันต่อไร่

หัวเรื่อง

เทคโนโลยีและภูมิปัญญาชาวบ้าน พืชไร่--มันสำปะหลัง

หมวดหมู่

เกษตรกรรม

คำสำคัญ

มันสำปะหลัง, เกษตรกร

ข้อมูลการติดต่อ

ที่อยู่:34/1 บ้านหนองแข้ หมู่ที่ 6 ตำบลสุขไพบูลย์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา 30330
โทรศัพท์:08 0154 1779

รายการอ้างอิง

  1. เกษตรกรคนเก่ง. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2563, จาก http://at.doa.go.th/cassava/farm_cas.php#