นายสุเมศ เชียรสระน้อย


รายละเอียด

ต้นแบบ การวิเคราะห์ดินและการปรับปรุงดิน

แนวคิด มีการไถกลบต้นข้าวโพดและปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยมูลไก่

เป้าหมาย-ความต้องการ

      - สนใจทดสอบพันธุ์มันสำปะหลังพันธุ์ใหม่ๆ เพื่อให้ได้พันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงและเหมาะสม กับพื้นที่

      - ทดสอบการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน เพื่อให้ผลผลิตสูง และลดต้นทุน

เทคโนโลยีในแปลงต้นแบบ

     มีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งสิ้น 130 ไร่ ดินส่วนใหญ่เป็นดินชุดโชคชัย (ดินสีแดง) เดิม ปลูกมะละกอ ซึ่งปลูกเป็นรายแรกของอำเภอครบุรี ในพื้นที่ 30 ไร่ ให้ผลผลิตดีมาก แต่เมื่อ ปลูกได้ประมาณ 4-5 ปี ประสบปัญหาเรื่องโรคมะละกอ จึงปรับเปลี่ยนมาปลูกมันสำปะหลัง เพื่อตัดวงจรโรคมะละกอ หลังจากนั้น จึงใช้วิธีวิเคราะห์การตลาด จึงนำระบบปลูกพืชมาใช้ เพื่อเพิ่มรายได้ และเป็นการหมุนเวียนการปลูกพืชเพื่อตัดวงจรโรค - แมลง โดยการปลูก ข้าวโพดหวานก่อน หลังเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวาน ไถกลบซากข้าวโพดลงดิน เพื่อปรับปรุง บำรุงดิน และปลูกมันสำปะหลังตาม อย่างไรก็ตาม ก่อนปลูกพืชชนิดใดจะทำการวิเคราะห์ สถานการณ์ตลาดก่อน ถ้าพืชชนิดใดมีแนวโน้มราคาดี ก็จะปลูกพืชชนิดนั้น ซึ่งตลาด ข้าวโพดหวานได้ราคาดี ในช่วงเดือนพฤษภาคม - ธันวาคม โดยราคากิโลกรัมละ 8 บาท ขณะที่นอกเหนือจากเดือนดังกล่าว ราคากิโลกรัมละ 4 - 5 บาท อย่างไรก็ตาม การปลูก ข้าวโพดหวานระหว่างกลางเดือนกันยายนถึงสิ้นเดือนกันยายน เป็นช่วงที่เหมาะสำหรับการ ปลูกข้าวโพดหวานที่สุด แต่มักประสบปัญหาฝนชุก เก็บเกี่ยวข้าวโพดหวานประมาณเดือน ธันวาคม ทำการไถกลบต้นข้าวโพด หรือขายต้นข้าวโพด ราคาไร่ละ 600 บาท หมุนเวียน สลับกันไป มีการปรับปรุงบำรุงดินด้วยน้ำเสียจากโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง และปลูก มันสำปะหลังในต้นเดือนมกราคม โดยรองพื้นด้วยปุ๋ยมูลไก่ อัตรา 4 ตัน/ไร่ ระยะปลูก 1.20x0.60 เมตร การปลูกในพื้นที่ลุ่ม จะยกร่องปลูกเพื่อรักษาความชื้นดิน ส่วนพื้นที่ดอน ไม่ต้องยกร่องปลูก เมื่อมันสำปะหลังอายุ 4 เดือน ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ พร้อมกับการกำจัดวัชพืช มีระบบน้ำหยดช่วยเมื่อฝนทิ้งช่วง ในพื้นที่ 30 ไร่ เก็บเกี่ยวผลผลิตที่อายุ 9-10 เดือน ผลผลิตเฉลี่ย 8-10 ตัน/ไร่

เทคนิคและข้อคิดเห็น

- การปลูกซ่อมมันสำปะหลัง ต้นที่ปลูกซ่อมจะให้ผลผลิตเพียง 30% เนื่องจาก เจริญเติบโต ช้า ไม่ทันต้นที่ปลูกในชุดแรก

- ข้อดีของการปลูกยกร่อง คือ การพ่นสารเคมีกำจัดวัชพืช ไม่โดนโคนต้น

- ควรตัดท่อนพันธุ์มันสำปะหลังให้ตรง จะทำให้การออกรากสม่ำเสมอรอบๆ ท่อนพันธุ์ และปลูกโดยปักท่อนพันธุ์ให้ตรง ซึ่งค่อนปักท่อนพันธุ์ยาก เนื่องจากปลายท่อนพันธุ์ไม่ แหลม

- การปลูกโดยไม่ได้คัดท่อนพันธุ์ จะทำให้การงอกไม่สม่ำเสมอ ต้นอ่อนแอมาก ผลผลิตต่ำ

- ผลผลิตมันสำปะหลังส่วนใหญ่ จะออกในช่วงธันวาคม-มีนาคม ทำให้ประสบปัญหาเรื่อง ราคาต่ำ และการรอคิวเข้าลานใช้เวลานานเป็นวัน

- มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 5 ต้นเล็ก และเตี้ย หัวดกแต่หัวสั้น เปอร์เซ็นต์แป้ง ประมาณ 29-30% เหมาะสำหรับปลูกในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างสูง มีระบบน้ำ

- มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 9 ต้นสูง ประมาณ 2 เมตร ก้านหัวไม่ดี เสาะง่าย แต่หัวโตเร็ว หัวมีขนาดใหญ่ ให้ผลผลิตและเปอร์เซ็นต์แป้งสูง เมื่อเก็บเกี่ยวที่อายุ 8-10 เดือน แต่ถ้า เก็บเกี่ยวที่อายุ 17-18 เดือน มีเปอร์เซ็นต์แป้งต่ำ อาจต่ำถึง 15% อย่างไรก็ตาม เปลือก ค่อนข้างหนา ไส้เล็ก ทำให้ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี

- มันสำปะหลังพันธุ์ห้วยบง 60 เหมาะสำหรับปลูกในดินทราย ความอุดมสมบูรณ์ปาน กลาง ต้นค่อนข้างเตี้ย แตกกิ่ง ทำให้การกำจัดวัชพืชยาก หัวไม่ดก แต่หัวใหญ่และยาว ถ้าเก็บเกี่ยวข้ามปี และมีการบำรุงรักษาดี อาจให้ผลผลิตถึง 15 ตัน/ไร่ อย่างไรก็ตาม เปลือกค่อนข้างบาง ไส้ใหญ่ ทำให้อ่อนแอต่อความแห้งแล้ง

- มันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 เป็นพันธุ์ที่สามารถปลูกได้ทุกพื้นที่และดินเกือบทุก ชนิดต้นแข็งแรง หัวดก เปอร์เซ็นต์แป้งสูง (34%) อายุเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมต่อผลผลิต และเปอร์เซ็นต์แป้งสูง คือ 8-12 เดือน

- การเลือกพันธุ์ปลูกพิจารณาจากพื้นที่โดยดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง จะปลูกพันธุ์ระยอง 9 และระยอง 5 แต่ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง ปลูกพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50

- มันสำปะหลังที่มีจำนวนกิ่ง หรือแตกกิ่ง ประมาณ 4-5 กิ่ง จะมีผลผลิตสูงและคุณภาพดี

- เคยทำการทดลองเก็บเกี่ยวข้ามปี มีการให้น้ำ และบำรุงดูแลรักษาอย่างดี ให้ผลผลิต สูงสุด 15 ตัน/ไร่ ดังนั้น เป็นไปได้น้อยมากที่จะได้ผลผลิต 20-30 ตัน/ไร่

- ถ้าดินที่ปลูกมันสำปะหลัง เป็นดินเหนียวหรือค่อนข้างเหนียว และมีการให้น้ำ ผลผลิตที่ ได้น่าจะมากกว่า 10 ตัน/ไร่ แต่ดินที่ใช้ปลูกในเขตพื้นที่นี้ ส่วนใหญ่เป็นดินสีแดงชุด โชคชัย ไม่ค่อยอุ้มน้ำ

- ถ้าใช้พันธุ์เดียวกันปลูกต่อในฤดูถัดมา ไม่ควรใช้พันธุ์เดียวกันนี้ ปลูกในพื้นที่ซ้ำกัน ควรหมุนเวียนพื้นที่ปลูก

- สามารถปลูกมันสำปะหลังได้ในเดือนพฤษภาคม เพราะมีฝน แต่อายุการเก็บเกี่ยวไม่ถึง 9-10 เดือน ส่วนการปลูกมันสำปะหลังในเดือนเมษายน มีความเสี่ยงภาวะฝนทิ้งช่วง อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่มีปัญหาเรื่องน้ำ ควรปลูกเดือนเมษายน เป็นเดือนที่ดีที่สุด

- ระยะปลูกมีผลต่อผลผลิต เช่น พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ควรใช้ระยะปลูก 1.20x0.80- 0.90 เมตร เนื่องจากต้นใหญ่ และแตกกิ่ง และดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ จะใช้ระยะ ปลูกห่าง อย่างไรก็ตาม การใช้ระยะปลูกใด พิจารณาจากพื้นที่เป็นหลัก

- ประสบปัญหาเรื่องแมลง โดยเฉพาะหนอนแมลงนูนหลวง ซึ่งแมลงนูนหลวงจะวางไข่ บนดิน และตัวหนอนจะอยู่ในดิน กัดกินรากและเปลือกมัน ทำให้ใบเหลืองและเฉาตาย ถ้ากัดทำลายในช่วงมันสำปะหลังลงหัว ทำให้เป็นเชื้อรา หัวเน่าและใบร่วง ซึ่งระบาด มากในพื้นที่ตำบลตะแบกบาน

หัวเรื่อง

เทคโนโลยีและภูมิปัญญาชาวบ้าน พืชไร่--มันสำปะหลัง

หมวดหมู่

เกษตรกรรม

คำสำคัญ

มันสำปะหลัง, เกษตรกร

ข้อมูลการติดต่อ

ที่อยู่:5 หมู่ที่ 8 ตำบลตะแบกบาน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา 30250
โทรศัพท์:08 1760 7095

รายการอ้างอิง

  1. เกษตรกรคนเก่ง. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 253, จาก http://at.doa.go.th/cassava/farm_cas.php#