นายเต่า ธงกลาง


รายละเอียด

ภูมิปัญญาชาวบ้าน: การร้องเพลงโคราช และดนตรีวงมโหรี

สาขาศิลปกรรม: มีความรู้ความสามารถ/ความเชี่ยวชาญ ข้อมูลภูมิปัญญา

     ร้องเพลงโคราช เป็นการร้องเพลงโต้ตอบที่พัฒนาไป เป็นการแสดงพื้นบ้าน ซึ่งได้มีมาเป็นเวลายาวนาน มีเอกลักษณ์ อยู่ที่การร้องรำเป็นภาษาโคราช ปรากฏหลักฐานชัดเจน ในปี พ.ศ. 2456 เมื่อสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินจังหวัดนครราชสีมา เพื่อทรงเปิดถนนจอมสุรางค์ยาตร์ และเสด็จฯ พิมาย

      ดนตรีวงมโหรี เกิดจากการประสมกันระหว่าง

- วงบรรเลงพิณ (โบราณาจารย์เรียก การขับร้องเป็นลำนนำพร้อมกับการดีดพิณ น้ำเต้า ในคน ๆ เดียว แต่มีสองล ำนำขึ้นไปประสานเสียงกันว่า "วง" และ

- วงขับไม้ (ผู้สีซอสามสายเป็นลำนำ ร่วมกับผู้ไกวบัณเฑาะว์) เกิดขึ้นครั้งแรกไม่น้อยกว่าสมัยกรุงสุโขทัย ภายหลังจึงประสมเครื่องดนตรีเพิ่มมากขึ้น โดยลำดับ เป็นวงมโหรีเครื่องสี่  หก และประสมเครื่องดนตรีวงปี่พาทย์ตามวิวัฒนาของวงปี่พาทย์เครื่องคู่ และเครื่องใหญ่ แต่มีระเบียบวิธีที่เป็นข้อยึดถือเสมอมา คือ กำหนดให้ซอสามสาย และการขับร้องเป็นประธาน และยึดบันไดเสียงกลุ่มเสียงระดับเพียงออ ร่วมกับเน้นลักษณะการขับกล่อม เป็นสำคัญ แม้นเมื่อประสมด้วยเครื่องปี่พาทย์ตามยุคต่าง ๆ ก็ดี ดุริยางคศิลปิน มักจะสร้างสรรค์ให้เครื่องปี่พาทย์ปรับเข้าหาเครื่องสาย และใช้ โทน รำมะนา ในการกำกับจังหวะ เนื่องจากเป็นวงประเภทการขับกล่อมเพื่อสุนทรีย์ ด้วยการปรับขนาด เครื่องดนตรีให้เล็กลงเพื่อให้เสียงกลมกลืนกันกับเครื่องสาย และกำหนดให้เสียงลูกยอดของระนาดเอกจะพอดี กับเสียงนิ้วก้อยสายเอกของซอด้วง ตลอดจนเมื่อขนาดของเครื่องดนตรีปี่พาทย์เล็กลงจะใช้ไม้นวมบรรเลง

หัวเรื่อง

ภูมิปัญญาชาวบ้านนครราชสีมา

หมวดหมู่

ปราชญ์ และภูมิปัญญาชาวบ้าน

คำสำคัญ

เพลงโคราช, เพลงพื้นเมือง, มโหรี, ปราชญ์, ภูมิปัญญา, ภูมิปัญญาชาวบ้าน

ข้อมูลการติดต่อ

ที่อยู่:บ้านบิง หมู่ที่ 5 ตำบลบิง อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา 30160

รายการอ้างอิง

  1. ภูมิปัญญาท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2565, จาก http://www.bing.go.th/detail.php?id=108