41 |
|
ชาวนครราชสีมากล้าหาญ ซื่อสั๊ตย์ กตัญญู สู่ตาย
- (ชาวนครราชสีมากล้าหาญ ซื่อสัตย์ กตัญญู สู้ตาย) เป็นคำขวัญของจังหวัดนครราชสีมาในอดีต
|
42 |
|
ชาวบน
- คนภูเขา ไทยโคราชกลุ่มหนึ่ง เรียกตนเองว่า เนียะกูล หรือเยียะกุร ซึ่งหมายถึงคนภูเขา อาศัยอยู่บนเทือกเขาดงพระยาเย็น ตั้งแต่บริเวณอำเภอปักธงชัย อำเภอโชคชัย จนถึงเทือกเขาเพชรบูรณ์
|
43 |
|
ชาวล่าง
- คนกรุงเทพฯ
|
44 |
|
ชำแร่ะ (น.)
- หลุมหรือร่องเล็ก ๆ
|
45 |
|
ชิ่ง
- หนีเอาตัวรอด
|
46 |
|
ชิมิ
- น้อย เล็ก
|
47 |
|
ชี่โบ้ชี่เบ้
- ชี้ผิดชี้ถูก ชี้ไม่ถูกตัว
|
48 |
|
ชี่โพรงให่กระรอก ชี่กระบอกให่หนู
- (สำนวน) แนะลู่ทางให้ ชี้ช่องทางให้คนอื่นทำในสิ่งที่ไม่ดี
|
49 |
|
ชุม
- วันที่ญาติพี่น้องมาชุมนุมก่อนวันงาน วันชุม ก็พูด
|
50 |
|
ชุมพวง
- ชื่ออำเภอหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา มีต้นพลวงมากเป็นป่าใหญ่ ชาวบ้านเรียกว่า ชุมพลวง ต่อมาเพี้ยนเสียงเป็น ชุมพวง
|
51 |
|
ชู่
- คนรัก แฟน
|
52 |
|
เชาบ้าน (น.)
- ราษฎร
|
53 |
|
เช่า (ว.)
- เวลาเช้า
|
54 |
|
เชิง
- ดูเหมือนจะ ท่าทางจะ ดูท่าจะ เช่น เชิงจะเอาเรื่อง เชิงจะหลงรักเขา
|
55 |
|
เชิงกราน
- แม่เตาไฟหรือกระบะไฟสำหรับหุงต้ม ทำด้วยไม้ตีเป็นกรอบสี่เหลี่ยมใส่ดิน เพื่อป้องกันไฟไหม้พื้น มีก้อนเส้า ๓ ก้อน สำหรับวางภาชนะ ชั่งกราน ก็พูด
|
56 |
|
เชิด
- ลอบเอาทรัพย์หรือสิ่งของผู้อื่นไป
|
57 |
|
เชิ่มเริ่ม
- สูงชะลูด
|
58 |
|
เชียน
- เลื่อยไม้ไม่ตรงตามที่ต้องการ
|
59 |
|
เชื่อง
- เซื่องซึม
|
60 |
|
แช่งชั่กหั๊กกระดูก
- (สำนวน) สาปแช่ง
|