61 |
 |
ที่กะเทย
- ที่ดินที่มีสภาพดินปานกลาง กล่าวคือ จะว่าดินดีก็ไม่ใช่ดินเลวก็ไม่เชิง
|
62 |
 |
ที่ทาง
- หน้าที่ กิจที่ควรทำ
|
63 |
 |
ทุ่ก
- บรรทุก เช่น ทุ่กหลัง (บรรทุกใส่หลัง ใส่บนหลังแบกพาไป)
|
64 |
 |
เท่ง
- ใช้ประกอบคำอื่น เพื่อให้คำเด่นชัด ทำนองว่ามากยิ่งขึ้น เช่น กินใหญ่กินเท่ง
|
65 |
 |
เทพารักษ์
- ชื่อกิ่งอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา เดิมชื่อสำนักตะคร้อ ต่อมาหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เจ้าอาวาสวัดบ้านไร่ อำเภอด่านขุนทดได้แนะนำให้เปลี่ยนชื่อเป็น เทพารักษ์ เพราะบริเวณนี้มีเทพารักษ์ปกปักรักษา และกระทรวงมหาดไทยเห็นชอบจึงได้ประกาศเปลี่ยนชื่อดังกล่าว
|
66 |
 |
เทศน์แจง
- พระเทศน์ทำวัตรเพื่อซักซ้อมการสวดให้พร้อมกันและเป็นแบบเดียวกัน
|
67 |
 |
เทศน์โจทย์ (ก.)
- เทศน์ปุจฉาวิสัชนา
|
68 |
 |
เท่อเล่อท่าล่า
- ดูคำว่า เท่อเล่อ
|
69 |
 |
เท่อเล่อ
- เซ่อซ่า ตำตา ทนโท่ ปรากฏชัดแก่ตา อาการเซ่อซ่า พรวดพราดเข้าไปในที่ที่ตนไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง เท่อเล่อท่าล่า ก็พูด
|
70 |
 |
เทิน
- ทับ วางข้างบน ซ้อนข้างบน
|
71 |
 |
แทงถั่วถูกไม่ได้ตังค์
- (สำนวน) สูญเสียผลประโยชน์เพราะถูกโกง
|
72 |
 |
โทงโทย
- โทง ๆ อาการที่เดินหรือวิ่งโหย่ง ๆ ไปในที่โล่ง เช่น แก้ผ้าโทงโทย
|
73 |
 |
โทน
- กลองที่ทำด้วยดินเผา ใช้หนังงูเหลือมหรือหนังตะกวดขึงด้านเดียวใช้ตีประกอบรำวง เรียกว่า รำโทน
|
74 |
 |
โทน (น.)
- เครื่องตีชนิดหนึ่ง ขึงด้วยหนังงูหรือตะกวด ใช้ตีประกอบการรำเรียกว่ารำโทนซึ่งเป็นการแสดงพื้นบ้านโคราช
|
75 |
 |
โท่โล่
- ทำตาโต
|
76 |
 |
ไทยกะเทิน
- คนโคราช
|
77 |
 |
ไทยโคราช
- เป็นคำที่คนอีสานเรียก คนโคราช
|
78 |
 |
ไทยเดิ้ง
- คนโคราช ไทยเบิ้ง ก็เรียก
|
79 |
 |
ไทยเบิ้ง
- คนโคราช
|
80 |
 |
ไทรระโยง (น.)
- ไทรย้อย
|