1 |
|
คง
- ชื่ออำเภอหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา มีตำนานเล่าว่าพรานชื่อตาคง ภรรยาชื่อยายเมือง นำพรรคพวกมาตั้งบ้านเรือน เรียกว่า บ้ายายเมืองตาคง ต่อมากลายเป็นบ้านเมืองคง และคำว่าเมืองหายไปเหลือเพียง คงเพราะเมื่อก่อตั้งเป็นอำเภอ คำว่าเมืองคงเกรงว่าจะไปพ้องกับอำเภอเมืองนครราชสีมา อาจจะทำให้เกิดความสับสนได้
|
2 |
|
คนแขก (น.)
- ผู้มาเยือน
|
3 |
|
ค่นคั่ว (ก.)
- ค้นคว้า
|
4 |
|
คนคุ่ก
- ขี้คุก เลวเหมือนคนติดคุก (คำด่า)
|
5 |
|
คนโคราช
- ชาวไทยที่มีถิ่นฐานอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา นักวิชาการได้จัดกลุ่มคนโคราชอยู่ในกลุ่มวัฒนธรรมไทยภาคกลาง เพราะมีวัฒนธรรมประเพณี เพลงพื้นบ้านค่อนไปทางภาคกลาง ภาษาพูดจะเป็นไทยภาคกลางที่มีเสียงเหน่อ จะมีภาษาเขมร ลาวปะปนบ้าง
|
6 |
|
คนซ่ะ ๆ (ว.)
- มีวัยวุฒิเสมอกัน
|
7 |
|
คนดิ๊บ
- เรียกชายที่ยังไม่ได้บวช
|
8 |
|
คนเดิ้ง
- บางคน
|
9 |
|
คนใน
- (ปริศนาคำทาย) เด็กที่อยู่ในท้องแม่
|
10 |
|
คนเบิ้ง
- บางคน
|
11 |
|
คนพุ่ง
- คนที่ทำหน้าที่สอดเส้นกกในการทอเสื่อกก
|
12 |
|
คนหน่าดีตาย คนหน่าลายยัง
- (สำนวน) คนดีมักตายง่ายส่วนคนชั่วมักตายยาก หรือคนชั่วยังอยู่ลอยนวล
|
13 |
|
คนห้าร่อย ข่าเด๊กน่อยก็ไม่ตาย
- (ปริศนาคำทาย) เงา (คนห้าร้อยฆ่าเด็กน้อยก็ไม่ตาย)
|
14 |
|
คนโหยก (น.)
- คนขายาวมาก ๆ
|
15 |
|
คนใหญ่คนน่อย (ก.)
- คนไปคนมาอย่างรวดเร็ว
|
16 |
|
คนใหญ่
- ผู้ใหญ่
|
17 |
|
ค่บ
- มาตราวัดอย่างหนึ่ง มี ๔ กำมือ เช่น ต้นกล้าข้าว ๑ ค่บ เท่ากับ ๔ กำมือ ๑๐ ค่บ เท่ากับ ๑ ปุ๋ง บางครั้งออกเสียงเป็น ปุง
|
18 |
|
คร่กมือ (น.)
- ครกทำด้วยไม้ทั้งต้นความสูงประมาณ ๑ เมตร
|
19 |
|
คร่กสากเหมิ่ง
- ครกตำข้าวเม่าใช้สากเหมิ่งตำ ดู สากเหมิ่ง ประกอบ
|
20 |
|
ครบุรี
- ชื่ออำเภอหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา ที่ตั้งอำเภอเป็นที่ต่ำชื้นมีน้ำขัง จึงเรียกกันว่า บ้านแฉะ แต่ภาษาถิ่นโคราชออกเสียงเป็นแชะ เมื่อครั้งตั้งเป็นกิ่งอำเภอใช้ชื่อว่ากิ่งอำเภอแชะ เนื่องจากเป็นต้นน้ำ ลำธาร และมีลำน้ำที่สำคัญหลายสาย จึงมีสมญานามว่า สาครบุรี เมื่อยกฐานะเป็นอำเภอจึงใช้ชื่อว่า ครบุรี
|