21 |
 |
ง่ามขา
- ช่วงระหว่างขาอ่อนทั้งสอง
|
22 |
 |
งามติ๊มิ
- งามน่ารัก น่าเอ็นดู
|
23 |
 |
ง่ามไม่
- คาคบ ง่ามต้นไม้ที่กิ่งใหญ่กับต้นแยกกัน
|
24 |
 |
งามออดหลอด (ว.)
- งามบริสุทธิ์
|
25 |
 |
ง่า (ก.)
- เงื้อมือ
|
26 |
 |
งำ (ก.)
- ปิด ครอบ เก็บ ปิดบัง
|
27 |
 |
งึ่ด
- แปลกใจ ประหลาด น่าพิศวง ฉงนสนเท่ห์
|
28 |
 |
งึบ
- ปิดบัง เก็บเงียบ
|
29 |
 |
งูกล่อมนางนอน (น.)
- งูแมวเซา
|
30 |
 |
งูกินหาง
- การเล่นอย่างหนึ่ง เล่นได้ ๒ วิธี คือ ๑) กินหางตัวเอง ผู้เล่นจะเกาะเข็มขัดหรือเอวเป็นแถว ให้คนหัวแถวเป็นแม่งูคอยเลี้ยวจับคนหางแถว คนที่ถูกจับได้จะออกไป ทำเช่นนี้จนหมด ๒) พ่องูตัวหนึ่งมากินหางแม่งู ให้คน ๆ หนึ่งเป็นพ่องู คอยจับลูกงูที่เกาะกันเป็นแถว โดยคนหัวแถวจะคอยปกป้องไม่ให้พ่องูจับลูกงู ลูกงูที่ถูกจับได้จะออกไป ทำเช่นนี้จนหมด แล้วผัดเปลี่ยนกันเป็นแม่งูลูกงู
- [หมายเหตุ วิธีที่ ๒ เดิมไม่ปรากฏว่ามีการสนทนาประกอบ ภายหลังมีการสนทนาโต้ตอบกันดังนี้]
- พ่องู : แม่งูเอ๋ย กินน่ำบ่อไหน
- แม่งู :กินน่ำบ่อหิน แล้วแม่งูและลูกงูทำท่าบิน พร้อมกับร้องว่า บินไปก็บินมา
- พ่องู : แม่งูเอ๋ย กินน่ำบ่อไหน
- แม่งู : กินน่ำบ่อโศก แล้วทั้งแถวโยกตัวไปมาพร้อมกับร้องว่า โยกไปก็โยกมา
- พ่องู : แม่งูเอ๋ย กินน่ำบ่อไหน
- แม่งู : กินน่ำบ่อทราย ทั้งแถวทำท่าย้ายตัวไปมาพร้อมกับร้องว่า ย่ายไปก็ย่ายมา
- พ่องู : กินหัวกินหาง กินกลางตลอดตัว (พูดอย่างรวดเร็ว) แล้วพ่องูก็ไล่จับลูกงู แม่งูก็จะต่อสู้ป้องกัน อนึ่งบทสนทนานี้ แต่ละแห่งอาจแตกต่างกัน
|
31 |
 |
งูเงี่ยวเขี่ยวตะขาบ
- (สำนวน) อรสพิษทั้งหลาย เช่น เข่าค่ำ (เวลามืด) กลางคืนให่ (ให้) เดินระวังงูเงี่ยวเขี่ยวตะขาบเดิ้ง (ด้วย)
|
32 |
 |
เง้ก ๆ
- เอ๋ง ๆ เสียงอย่างเสียงหมาร้อง เยก ๆ ก็พูด
|
33 |
 |
เงาหัว
- ฐานะ เช่น ไม่ดูเงาหัว (ไม่ดูฐานะของตนและเจียมตัว ไม่เจียมกะลาหัว)
|
34 |
 |
เง่าะเหงิบ
- ดูคำว่า กะด๊กกะเดื่อง
|
35 |
 |
เง่าะ
- ดูคำว่า เก้าะ
|
36 |
 |
เง่า (ก.)
- หน้างอ
|
37 |
 |
เงิง
- อ้า เปิดอ้า เผยอ
|
38 |
 |
เงิง (ว.)
- เปิดอ้า กว้าง
|
39 |
 |
เงินทอดดอก (น.)
- เงินตกดอก
|
40 |
 |
เงินทำผี (น. )
- เงินค่าขอขมา กรณีหญิงชายหนีตามกันบางครั้ง ใช้คำว่า บอกผี
|