รูปแบบการสืบค้น: ค้นหาคำศัพท์ | ค้นหาคำศัพท์จากความหมาย
สืบค้น
621 เข่าย่กสง (ว.)
  1. อุ้มชู
622 เข่าเย็น
  1. ข้าวสุกหรือข้าวสวยที่เหลือ ข้าวสุกเก่า
623 เข่ารวงกูด (น.)
  1. ข้าวที่รวงหงิกงอ ไม่เจริญ ไม่มีเมล็ด
624 เข่าร่อนแกงร่อน
  1. (สำนวน) ทำการใดเมื่อเวลาจวนตัวต้องทำอย่างรีบร้อน
625 เข่าเรียงเม็ด (ว.)
  1. หลังจากรับประทานอาหารแล้วต้องพัก เช่น กิ๋นเข่าอิ่มใหม่ ๆ ยุดให่เข่าเรียงเม็ดก่อนยังค่อยทำงาน (กินข้าวอิ่มใหม่ ๆ หยุดพักก่อนจึงค่อยทำงาน)
626 เข่าเรี่ย (น.)
  1. รวงข้าวที่ตกอยู่หลังการเก็บเกี่ยว ต่อมางอกขึ้นห่าง ๆ กัน
627 เข่าศิล (ก.)
  1. รักษาศีลในวันอุโบสถศีล มักเข่าศิลในช่วงเข้าพรรษา
628 เข่าสัง (น.)
  1. ข้าวสารที่เมล็ดสวยไม่มีหักป่น
629 เข่าสูน (ก.)
  1. เข้าสิงร่าง หรือมาเข้าทรง
630 เข่าหัวหม่อ (น.)
  1. ข้าวปากหม้อ
631 เขาหา (ก.)
  1. การวาน การขอแรง เช่น เขาหาไปเกี่ยวเข่า หมายถึง การวานไปเกี่ยวข้าว เขาหาไปย่กบ้าน หมายถึง การขอแรงไปช่วยสร้างบ้าน
632 เข่าเหนียวหัวหงอก
  1. ขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยข้าวเหนียวดำใส่ถั่วดำ โรยหน้าด้วยมะพร้าวขูด
633 เข่าเหม่าเป็นขี่หมา (น.)
  1. ข้าวเม่าที่ตำด้วยสากอุบหรือสากเหมิ่ง ซึ่งทั้งเปลือกทั้งเมล็ดข้าวติดกันเป็นก้อน สาเหตุเพราะคั่วเมล็ดข้าวเปลือกไม่ได้ที่ เรียกว่าคั่วอ่อนไป ถ้าคั่วแก่ไปข้าวเม่าจะแหลกไม่เป็นเมล็ดข้าวเม่า เรียกว่า เข่าเหม่ามุ่น รวงข้าวที่จะนำมาตำข้าวเม่าพอดีคือสุกเหลืองที่ปลายรวง ส่วนโคนรวงยังเขียวอยู่ ถ้าเก็บอ่อนกว่านี้เวลาตำจะเป็นข้าวเม่าขี้หมาคือติดกันเป็นก้อน
634 เข่าเหม่าโปร
  1. ข้าวเม่าที่เป็นข้าวจ้าว
635 เข่าเหม่าสาด (น.)
  1. กระยาสารท
636 เข่าเหม่าอ่อน (น.)
  1. ข้าวเม่าที่เป็นข้าวเหนียว
637 เข่าเหย็น (น.)
  1. อาหารมื้อกลางวัน เพราะหุงไว้ตั้งแต่ตอนเช้า จึงเย็นเมื่อกินกลางวัน
638 เข่า
  1. ข้าว
639 เขิก (ก.)
  1. เขก งอนิ้วแล้วเคาะลงไปอย่างแรง
640 เขิน (ว.)
  1. ตื้น เช่น น่าม (น้ำ) ตรงที่มันเขิน
  2. สั้นเต่อ เช่น นุ่งกระโปรงเขิน