1081 |
 |
ชัยตา
- ชะตา
|
1082 |
 |
ชั่วดี๋ถี่ห่าง
- (สำนวน) ดี ๆ ชั่ว ๆ เช่น ชั่วดี๋ถี่ห่างก็พี่กันน้องกัน
|
1083 |
 |
ช่างน่ำ
- คำเปรียบเทียบผู้หญิงที่อ้วนมาก
|
1084 |
 |
ช่างโลง
- โชงโลง (เครื่องวิดน้ำรูปคล้ายเรือครึ่งท่อน มีด้ามถือผูกแขวนเข้ากับขาหยั่ง) ออกเสียงเป็นชั่งโลง ก็มี บางท้องที่เรียกว่า กะโซ่ ปุงโซ่ อุงพุ่ง ดูคำว่า อุงพุ่ง ประกอบ
|
1085 |
 |
ช่าเจ้าหงส์ดงลำใย
- ดูคำว่า ดงลำใย
|
1086 |
 |
ช่าเจ้าหงส์
- ดูคำว่า ดงลำใย
|
1087 |
 |
ชาดว่า (ว.)
- น่าพึงพอใจ น่ายกย่อง เช่น ชาดว่าลูกเขาดี๋ (ลูกเขาดีจนน่ายกย่อง)
|
1088 |
 |
ชาติ
- รัง ล้วนแต่ เช่น ชาติจินินทาคน (รังแต่จะนินทาเขา) ชาติจิหัวเราะเหย่าะเขา (รังแต่จะหัวเราะเยาะเขา)
|
1089 |
 |
ชามดิน
- ชามที่ทำจากดินเผา
|
1090 |
 |
ชามเหลี่ยม
- ชามกระเบื้องที่ปั้นไม่เรียบมักจะเป็นเหลี่ยม ๆ
|
1091 |
 |
ชาย
- ดำคำว่า กราย
|
1092 |
 |
ช่าร่ะอ๊ะ
- กระจ่าง พูดหมดเปลือก
|
1093 |
 |
ชาวนครราชสีมากล้าหาญ ซื่อสั๊ตย์ กตัญญู สู่ตาย
- (ชาวนครราชสีมากล้าหาญ ซื่อสัตย์ กตัญญู สู้ตาย) เป็นคำขวัญของจังหวัดนครราชสีมาในอดีต
|
1094 |
 |
ชาวบน
- คนภูเขา ไทยโคราชกลุ่มหนึ่ง เรียกตนเองว่า เนียะกูล หรือเยียะกุร ซึ่งหมายถึงคนภูเขา อาศัยอยู่บนเทือกเขาดงพระยาเย็น ตั้งแต่บริเวณอำเภอปักธงชัย อำเภอโชคชัย จนถึงเทือกเขาเพชรบูรณ์
|
1095 |
 |
ชาวล่าง
- คนกรุงเทพฯ
|
1096 |
 |
ชำแร่ะ (น.)
- หลุมหรือร่องเล็ก ๆ
|
1097 |
 |
ชิ่ง
- หนีเอาตัวรอด
|
1098 |
 |
ชิมิ
- น้อย เล็ก
|
1099 |
 |
ชี่โบ้ชี่เบ้
- ชี้ผิดชี้ถูก ชี้ไม่ถูกตัว
|
1100 |
 |
ชี่โพรงให่กระรอก ชี่กระบอกให่หนู
- (สำนวน) แนะลู่ทางให้ ชี้ช่องทางให้คนอื่นทำในสิ่งที่ไม่ดี
|