กล้วยป่า


รายละเอียด

ชื่อวิทยาศาตร์Musa acuminate Colla
ชื่อวงศ์MUSACEAE
ชื่ออื่นกล้วยป่า (นครราชสีมา); กล้วยไข่ (ภาคกลาง); กล้วยเถื่อน, กล้วยเถื่อนน้ำมัน (ภาคใต้); กล้วยป่า, กล้วยลิง (อุตรดิตถ์); กล้วยหม่น (เชียงใหม่); ปิซังอูตัน (มลายู - ปัตตานี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:
ลำต้นไม้ล้มลุก ทุกส่วนมียาง มีเหง้าแตกหน่อได้ มีลำต้นเทียมสูง 2 - 5 เมตร กาบลำต้นด้านนอกมีปื้นดำมีนวลเล็กน้อย ด้านในสีแดง มักขึ้นเป็นกอ
ใบใบชูขึ้นค่อนข้างตรง ก้านใบสีชมพูอมแดง มีจุดดำมีครีบ เส้นกลางใบสีเขียว
ดอกดอก (หัวปลี) ออกเป็นช่อห้อยลง มีกาบหุ้มสีแดงม่วงเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ ด้านบนสีม่วงอมแดง
ผลรูปทรงกระบอกโค้งงอ บางพันธุ์ไม่โค้งงอ ขนาดเล็ก มีเนื้อน้อย สีขาว รสหวาน มีเมล็ดจำนวนมาก สีดำ เปลือกเมล็ดหนา แข็ง
รสจืด ฝาดเย็น ผลสุก มีรสหวาน
แหล่งที่พบป่าดิบแล้ง ริมลำธาร หรือป่าคืนสภาพ
สภาพที่เหมาะสมชอบแสงแดดจัด ขึ้นได้ดีในดินที่อุ้มน้ำ ความชื้นสูง
การขยายพันธุ์แยกหน่อ เพาะเมล็ด
การใช้ประโยชน์:
ส่วนที่ใช้เป็นอาหารใจกลางลำต้นเทียม (หยวก) หัวปลี และผลอ่อน รับประทานเป็นผักสด หรือต้มจิ้มน้ำพริก นำไปปรุงเป็นอาหาร แกง หรือ ห่อหมก ผลสุกรับประทานได้

หัวเรื่อง

พฤกษาพรรณบรรณสาร : ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

รายการอ้างอิง

  1. ทักษิณ อาชวาคม ... [และคนอื่น ๆ]. (2551). พืชกินได้ในป่าสะแกราชเล่ม 1. ปทุมธานี: สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช.