แกลบหนู


รายละเอียด

ชื่อวิทยาศาตร์Dendrolobium lanceolatum (Dunn) Schindl.
ชื่อวงศ์LEGUMINOSAE - PAPILIONOIDEAE
ชื่ออื่นกระดูกอึ่งใหญ่ (นครราชสีมา); กระดูกเขียด (นครพนม); กระดูกอึ่ง (ราชบุรี, บุรีรัมย์); แกลบหนู, แกลบหูหนู, แปรงหูหนู (ปราจีนบุรี);

ดูกอึ่ง (ชัยภูมิ); อึ่งใหญ่ (ภาคกลาง, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:
ลำต้นไม้พุ่ม สูง 1 - 3 เมตร แตกกิ่งมาก กิ่งค่อนข้างกลม มีขนสั้นๆ สีน้ำตาล
ใบใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อยสามใบ รูปรี รูปไข่ หรือรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม ใบกลางใหญ่กว่าใบคู่ด้านข้างเล็กน้อย ผิวใบด้านท้องใบมีขนเล็กน้อย หลังใบเรียบสีเขียว
ดอกดอกออกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ สีขาวหรือเหลืองอ่อน โคนดอกติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกจากกัน
ผลฝักแบนรี เบี้ยวถึงเกือบกลม มี 1 เมล็ด รูปไต
รสมัน จืด
แหล่งที่พบพบขึ้นในป่าเต็งรัง
สภาพที่เหมาะสมชอบแสงแดดจัด ขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด ชอบความชื้นต่ำ
การขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
การใช้ประโยชน์:
ส่วนที่ใช้เป็นอาหารใบอ่อน ยอดอ่อน นำมารับประทานเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริก

หัวเรื่อง

พฤกษาพรรณบรรณสาร : ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

รายการอ้างอิง

  1. ทักษิณ อาชวาคม ... [และคนอื่น ๆ]. (2551). พืชกินได้ในป่าสะแกราชเล่ม 1. ปทุมธานี: สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช.