ชื่อวิทยาศาตร์ | Globba nisbetiana Craib. |
ชื่อวงศ์ | ZINGIBERACEAE |
ชื่ออื่น | ขิงแห้ง, ขิงแคง (นครราชสีมา); ขิงป่า, หัวละแอน (ภาคเหนือ) |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: | |
ลำต้น | ไม้ล้มลุก สูง 30 - 40 เซนติเมตร ลักษณะคล้ายขิงบ้าน มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีขาวอมเหลือง มีกลิ่นฉุน |
ใบ | ใบเป็นเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ |
ดอก | ดอกออกเป็นช่อ รูปทรงกระบอก แทงออกจากเหง้าใต้ดิน กลีบดอกสีแดงเข้ม ออกดอกเดือนมิถุนายน - สิงหาคม |
ผล | ผลเป็นผลแห้ง สีดำ ออกผลเดือนสิงหาคม - กันยายน |
รส | เผ็ด |
แหล่งที่พบ | ป่าดิบแล้ง และป่าคืนสภาพ |
สภาพที่เหมาะสม | ชอบแสงแดดรำไร ขึ้นได้ดีในดินร่วนซุย ค่อนข้างชื้น |
การขยายพันธุ์ | แยกเหง้า |
การใช้ประโยชน์: | |
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร | ใบ หน่ออ่อน เหง้าอ่อนรับประทานสดๆ กับน้ำพริกหรือนำมาปรุงเป็นเครื่องแกง ปรุงอาหารเพื่อดับกลิ่นคาว |
พฤกษาพรรณบรรณสาร : ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี