ประวัติความเป็นมา
ในสมัยโบราณการสร้างเมืองนครราชสีมาใช้วิธีเสี่ยงทาย โดยเอาหนังราชสีแขวนใส่ไม้แล้วเดินเสี่ยงทาย จนมาตกที่บริเวณหมู่บ้านแห่งนี้ ซึ่งมีทำเลที่ตั้งเหมาะสม คือ มีสระน้ำรอบเมือง และได้ทำการขุดสระ ไว้สำหรับพระมหากษัตริย์ไว้สำหรับดื่ม-กิน เรียกว่า สระใน ส่วนสระน้ำสำหรับบ่าวไพร่ เรียกว่า สระนอก และมีการสร้างสถานที่ต่าง ๆ ไว้สำหรับการตั้งเมืองนครราชสีมา เช่น
- หนองประดู่ เป็นที่ทำการ ทหารเรือ
- หนองตาราง เป็นที่สำหรับ กักขังนักโทษ
- หนองสนม เป็นที่อาศัยของ นางสนม นางกำนัล
- หนองช้างลง เป็นที่สำหรับ ให้ช้างผ่าน (สมัยโบราณใช้ช้างเป็นพาหนะ)
แต่ปรากฏว่า สถานที่แห่งนี้คับแคบไม่เพียงพอต่อการอาศัยของประชากร ประมาณ 100,000 คน จึงได้ทำการเสี่ยงทายใหม่ โดยใช้วิธีเสี่ยงทายแบบเดิม คือ ใช้หนังราชสีห์แขวนใส่ไม้แล้วเดินเสี่ยงทาย จนหนังราชสีห์ไปตกที่ อ.เมือง ในปัจจุบัน
ที่มาของชื่อหมู่บ้าน
ด้วยสาเหตุให้มีการเสี่ยงทายสถานที่ใหม่ในการสร้างเมือง เนื่องจากสถานที่เดิมมีความคับแคบไม่เพียงพอต่อการอาศัยของประชากร ประมาณ 100,000 คน บรรพบุรุษที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่เสี่ยงทายเดิม เกิดความน้อยใจคิดว่าถ้าเสี่ยงทายได้สถานที่แห่งนี้ บรรดาบรรพบุรุษ ปู่ ย่า ต ายาย เหล่านี้ จะได้เป็นคนเมือง จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านแห่งนี้ขึ้นเพื่อเป็นการประชดประชัน ด้วยความน้อยใจ ว่า "บ้านแสนเมือง" นับแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน
ชื่อบ้านนามเมือง นครราชสีมา
ศาสนสถาน
ที่อยู่: | หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30310 |