นายเลื่อน พงษ์โสภณ


รายละเอียด

นายเลื่อน พงษ์โสภณ

8 พฤษภาคม พ.ศ. 2439-29 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 (สิริอายุ 80 ปี)

ประวัติ

      เกิดที่ ต.สามยอด จ.พระนคร

บิดา: ขุนเชี่ยวหัสดิน (เถา) มารดา: นางแฉ่ง ประกอบกิจการโรงเลื่อย และค้าขายเครื่องเรือน โดยใช้ชื่อว่า ร้านจำหน่ายของสยาม 

การศึกษา: 

- เริ่มเข้าศึกษาชั้นประถมที่โรงเรียนอรพินทร (ปัจจุบันคือ โรงเรียนวัดบวรนิเวศ)

- เมื่ออายุได้ 6 ปี จากนั้นมารดาฝากไว้กับพระสงฆ์ เพื่อให้ศึกษาต่อทางศีลธรรมที่วัดรังษี

- ต่อมานางแฉ่งตั้งใจให้ศึกษาทางกฎหมาย แต่ฝ่าย น.อ.เลื่อนอยากเป็นทหาร จึงสมัครเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก       เมื่อใกล้สำเร็จการศึกษา เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 น.อ.เลื่อน ตัดสินใจลาออก และสมัครเป็นทหารอาสาไปทำการรบที่ประเทศฝรั่งเศส ตามที่ทางราชการประกาศรับ

- ได้โอกาสจากรัฐบาลใปเรียนวิชาช่างยนต์ และช่างเครื่องบินที่ประเทศฝรั่งเศส โดยเข้าสมัคร และสอบได้อันดับที่ 1 ใช้เวลาในการเรียนเพียง 3 ปี ก็เรียนจบหลักสูตร แล้วเดินทางกลับเข้ามารับราชการ ในตำแหน่งสิบโทแห่งกองทัพอากาศ โดยเป็นครูสอนวิชาจักรยนต์แก่นายทหาร

ผลงาน:

- ผู้ก่อตั้งโรงเรียนช่างกลพงษ์โสภณ เป็นโรงเรียนแห่งแรกในประเทศไทย

- ปรมาจารย์มอเตอร์ไซค์ไต่ถัง

- นักบิน เป็นผู้บุกเบิกการบินพลเรือนคนแรกของเอเชีย ด้วยการพา นางสาวสยาม จากสนามบินดอนเมือง ในเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีกับประเทศจีน โดยบินผ่านไปลงพักที่จังหวัดนครราชสีมา 1 คืน พักที่นครพนม 1 คืน ออกจากนครพนมก็บินมุ่งไปยังสนามบินวิน แล้วไปฮานอย ปากหอย ไทเป และกวางเจาวัน จนถึงฮ่องกงเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 อันเป็นวันเดียวกันกับที่คณะราษฎรได้ก่อการปฏิวัติขึ้นในประเทศไทย บินไปถึงซัวเถา แต่ไม่สามารถบินต่อไปจนถึงเซี่ยงไฮ้ได้ เนื่องจากจีนกำลังสู้รบกับญี่ปุ่นที่เซี่ยงไฮ้ น.อ.เลื่อน พักอยู่ที่เมืองจีนได้ 7 วันก็บินกลับประเทศไทย

- ผู้ประดิษฐ์รถสามล้อคนแรก ในระหว่างที่ทำงานในบริษัทเดินอากาศ ถูกย้ายไปประจำอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมาเป็นเวลา 5 ปี ได้ใช้เวลาว่างประดิษฐ์รถสามล้อขึ้น ทั้งนี้โดยเห็นว่า รถเจ๊ก หรือ รถลาก ซึ่งมีใช้กันอยู่ทั่วไปในขณะนั้น เป็นการทรมานแก่ผู้คน และไม่รวดเร็ว ความเร็วของรถเจ๊ก ก็เท่ากับความเร็วของคนวิ่งช้า ๆ เท่านั้น ใช้เวลา 1 ปี สามารถประดิษฐ์รถสามล้อสำเร็จ ในปี พ.ศ. 2476 ได้นำเข้ามาจดทะเบียนที่กรุงเทพฯ โดยเป็นผู้ขับขี่ด้วยตนเอง ในครั้งนั้น นายพันตำรวจตรี หลวงพิชิตธุระการ (ยศในขณะนั้น) เป็นผู้ทดลองนั่งรถสามล้อเป็นคนแรก ตามคำสั่งของกระทรวงมหาดไทย ปรากฏว่า ตั้งแต่วันนั้น เป็นต้นมา ประชาชนคนไทยก็โจษขานกันเซ็งแซ่ไปทั้งเมือง ด้วยเห็นเป็นของแปลก หลังจากจดทะเบียนแล้ว 1 เดือน น.อ.เลื่อน ก็สามารถประดิษฐ์รถสามล้อออกได้ถึง 50 คัน แต่ต่อจากนั้น ก็มีผู้ลอกแบบเอาอย่างไปทำกันเป็นอันมาก รถสามล้อก็เป็นที่นิยมของคนอย่างกว้างขวาง ได้แพร่หลายออกไปอย่างรวดเร็วทั้งในกรุง และหัวเมืองต่าง ๆ

เกียรติประวัติ:

- รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมคนแรกของประเทศไทย

- อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ 6 สมัย เป็นเวลา 25 ปี

- ผู้อำนวยการองค์การน้ำตาลไทย

- ประธานกรรมการบริษัท เดินอากาศไทย จำกัด

- พ.ศ. 2500 ได้รับพระราชทานยศเป็น นาวาอากาศเอก 

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

- พ.ศ. 2537 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)

- พ.ศ. 2497 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)

- พ.ศ. ไม่ปรากฎ เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)

หัวเรื่อง

บุคคลสำคัญ

หมวดหมู่

บุคคล

คำสำคัญ

รถสามล้อ

รายการอ้างอิง

  1. เลื่อน พงษ์โสภณ.  สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2564, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/เลื่อน_พงษ์โสภณ