เส้นไหมไทยพื้นบ้านอีสาน (Isan Indigenous Thai Silk Yarn)
หมายถึง เส้นไหมดิบที่ผ่านการสาวด้วยมือ ผลิตจากตัวไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้านที่เลี้ยงโดยใบหม่อนที่ปลูกขึ้นเองในพื้นที่ 20 จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสาน เส้นไหมไทยพื้นบ้านอีสานเป็นสีเหลืองทอง มีความเลื่อม ความนุ่มนวล ความเหนียว และความสม่ำเสมอ สามารถนำมาทำเป็นเส้นยืนและเส้นพุ่งได้
ลักษณะสินค้า
ประเภทและลักษณะทางกายภาพของเส้นไหมพื้นบ้านอีสานเป็นดังนี้
1. เส้นไหมหลืบ หรือเส้นไหมเปลือก หรือเส้นไหม 3
เป็นเส้นไหมที่ได้จากรังไหมชั้นนอก รวมทั้งปุยไหม ลักษณะเส้นไหมจะใหญ่มากและเนื้อหยาบมีปุ่มปม ขนาดสม่ำเสมอ สะอาดไม่มีสิ่งปลอมปน มีสีเข้มและสม่ำเสมอ
2. เส้นไหมสาวเลย หรือเส้นไหมรวด หรือเส้นไหม 2
เป็นเส้นไหมที่ได้จากการสาวควบกันทั้งปุยและเส้นใยส่วนนอกของรังไหมไปจนถึงเส้นใยส่วนในของรังไหมให้เสร็จในคราวเดียวกัน เส้นไหมไม่เรียบ ขนาดสม่ำเสมอ สะอาดไม่มีสิ่งปลอมปน สีสม่ำเสมอ ลักษณะเส้นไหมที่สาวได้หยาบและเส้นใหญ่กว่าไหมหนึ่ง
3. เส้นไหมน้อย หรือเส้นไหมเครือ หรือเส้นไหมยอด หรือเส้นไหม 1
เป็นเส้นไหมที่ได้จากเปลือกรังไหมชั้นใน เส้นไหมที่ได้จะมีลักษณะเส้นเรียบ ขนาดและสีสม่ำเสมอ รวมสะอาดไม่มีสิ่งปลอมปน นุ่มมือเมื่อสัมผัส เมื่อทอเป็นผืนผ้าแล้วเนื้อผ้าจะนุ่ม เรียบ มีความเลื่อมน้อยมันของเส้นไหมในระดับดีมาก มีความนุ่มนวลดี เส้นไหมมีความเหนียว ระดับความสม่ำเสมอของเส้นไหมดี สีเส้นไหมเป็นสีเหลืองทอง
เลขที่คำขอ 54100080
ทะเบียนเลขที่ สช 56100050
วันที่ยื่นคำขอ 25 สิงหาคม 2554
วันที่ขึ้นทะเบียน 25 สิงหาคม 2554
ผู้ขอขึ้นทะเบียน กรมหม่อนไหม ที่อยู่ 2175 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
ไหม
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์, ไหม