คำขวัญอำเภอ
อำเภอปักธงชัย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปรับปรุงระเบียบราชการปกครองเป็นแบบเทศาภิบาล เมืองปักธงชัยจึงถูกยุบลงเป็น อำเภอปักธงชัย ขึ้นกับมณฑลนครราชสีมา โดยมี พระศรีพลรัตน์ (ยะฟะระ เกตุเลขา) ชาวไทยมุสลิม เป็นนายอำเภอปักธงไชยคนแรก ในปี พ.ศ. 2451 และปี พ.ศ. 2508 เปลี่ยนชื่อจาก อำเภอปักธงไชย เป็น อำเภอปักธงชัย เพื่อให้ถูกต้องตามราชบัณฑิตยสถาน
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสูงเนิน (ติดต่อกับตำบลหนองตะไก้ ตำบลมะเกลือเก่าและตำบลมะเกลือใหม่) และอำเภอเมืองนครราชสีมา (ติดต่อกับตำบลไชยมงคล ตำบลโคกกรวด และตำบลสุรนารี)
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอโชคชัย (ติดต่อกับตำบลพลับพลาและตำบลท่าลาดขาว) และอำเภอครบุรี (ติดต่อกับตำบลครบุรี และตำบลครบุรีใต้)
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอวังน้ำเขียว (ติดต่อกับตำบลวังน้ำเขียว ตำบลอุดมทรัพย์ และตำบลวังหมี)
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอปากช่อง (ติดต่อกับตำบลคลองม่วง) อำเภอวังน้ำเขียว (ติดต่อกับตำบลระเริง) และอำเภอสูงเนิน (ติดต่อกับตำบลมะเกลือใหม่และตำบลหนองตะไก้)
พื้นที่การปกครอง แบ่งออกเป็น 16 ตำบล 215 หมู่บ้าน
1. ตำบลเมืองปัก 18 หมู่บ้าน
2. ตำบลตะคุ 21 หมู่บ้าน
3. ตำบลโคกไทย 11 หมู่บ้าน
4. ตำบลสำโรง 10 หมู่บ้าน
5. ตำบลตะขบ 22 หมู่บ้าน
6. ตำบลนกออก 10 หมู่บ้าน
7. ตำบลดอน 12 หมู่บ้าน
8. ตำบลตูม 16 หมู่บ้าน
9. ตำบลงิ้ว 16 หมู่บ้าน
10. ตำบลสะแกราช 15 หมู่บ้าน
11. ตำบลลำนางแก้ว 9 หมู่บ้าน
12. ตำบลภูหลวง 9 หมู่บ้าน
13. ตำบลธงชัยเหนือ 16 หมู่บ้าน
14. ตำบลสุขเกษม 11 หมู่บ้าน
15. ตำบลเกษมทรัพย์ 9 หมู่บ้าน
16. ตำบลบ่อปลาทอง 10 หมู่บ้าน
ประวัติ
ในอดีตอำเภอปักธงชัยมีชื่อว่าเมืองปัก ต่อมาเมื่อเมืองนครราชสีมาได้เป็น เมืองหน้าด่าน เมืองปักจึงได้ถููกตั้งให้เป็นเมืองด่านคอยป้องกันเมืองนครราชสีมาโดยใช้ชื่่อว่าด่านจะโปะ ต่อมาในสมัยพระเจ้าตากสินมหาราชได้้เปลี่ยนชื่อด่านจะโปะ เป็นเมืองปักธงชัย และแต่งตั้งให้อุปราชาแห่งกรุงเวียงจันทน์เป็นเจ้าเมืองปักธงไชยคนแรก
สมัยโบราณ "ปักธงชัย" เป็นเมืองโบราณตั้งแต่ขอมเรืองอำนาจ สันนิษฐานได้จากเขตอำเภอปักธงชัยมีซากปรักหักพังของปรางค์ หรือ เทวาลัยหลายแห่งที่เป็นศิลปกรรม และสถาปัตยกรรมที่ขอมนิยมสร้างตามเมืองต่าง ๆ ที่ตนปกครองอยู่ใหญ่บ้าง เล็กบ้างตามความสำคัญของแต่ละเมือง เช่น ปรางค์นาแค ปราสาทสระหิน ปรางค์บ้านปรางค์ ปรางค์กู่เกษม
สมัยกรุงศรีอยุธยา จากหลักฐานที่ปรากฏตามแผนที่ยุทธศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยาได้ปรากฏชื่อ เมืองปักว่าตั้งอยู่ใกล้เมืองนครราชสีมา ความสำคัญก็คือ เป็นเมืองหน้าด่านทางทิศใต้ของเมืองนครราชสีมา เพื่อเป็นกองระวังหน้าคอยสอดแนมข้าศึกและคอยปะทะขัดขวางหน่วงเหนี่ยวไม่ให้ข้าศึกยกทัพประชิดเมืองนครราชสีมาเร็วเกินไป เมืองปักในสมัยนี้จึงถูกตั้งและเรียกว่า "ด่านจะโปะ" เช่นเดียวกับ ด่านเกวียน ด่านจอหอ ด่านขุนทด เป็นต้น
สมัยกรุงธนบุรี พ.ศ. 2321 ในรัชสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดฯให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่ 1) ยกกองทัพไปปราบเมืองเวียงจันทน์และได้รับชัยชนะขากลับ จึงได้กวาดต้อนเชลยชายหญิงพร้อมกับเพี้ยอุปราช และ ให้ไปพักอาศัยอยู่ที่ "ด่านจะโปะ" ครั้นชาวเมืองเวียงจันทน์ตั้งบ้านเรือนเป็นหลักฐานมั่นคงแล้ว เจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น) จึงกราบบังคมทูลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตตั้งด่านจะโปะเป็นเมือง เรียกว่า "เมืองปัก" (ยังไม่มีคำว่าธงชัย) และได้กราบบังคมทูลขอให้เพี้ยอุปราชเป็นเจ้าเมืองปักคนแรก พระราชทานนามว่า "พระยาวงศาอรรคราช" (ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นต้นตระกูล "วรธงไชย" ขณะนี้) เมืองปักในสมัยนี้เป็นเมืองชั้นตรีขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมา เมื่อ พ.ศ. 2323
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์แห่งเมืองเวียงจันทน์ยกทัพมายึดเมืองนครราชสีมาและได้กวาดต้อนชาวเมืองไป แต่ถูกคุณหญิงโมและชาวเมืองนครราชสีมาต่อสู้กับทหารเวียงจันทน์จนได้รับชัยชนะและได้พระราชทานนามว่า "ท้าวสุรนารี" การกวาดต้อนเชลยคราวนั้น ทหารเจ้าอนุวงศ์แห่งเมืองเวียงจันทน์ ได้มากวาดต้อนชาวเมืองปักทั้งชาวไทยโคราช และ ชาวเวียงจันทน์ ซึ่งชาวเวียงจันทร์ได้อพยพมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี ต่างก็มีที่ทำมาหากินสุขสบายมาเป็นเวลา 47 ปี จึงพร้อมใจกันจับอาวุธต่อสู้ขับไล่ทหารของเจ้าอนุวงศ์พ่ายแพ้กลับไป (ปัจจุบันชาวเวียงจันทน์เป็นบรรพบุรุษ ของชาวตำบลตะคุทั้งตำบล ตำบลเมืองปักบางหมู่บ้าน ตำบลธงชัยเหนือบางหมู่บ้าน ตำบลบลสะแกราชบางหมู่บ้าน ตำบลตะขบบางหมู่บ้าน)
ข้อมูลทั่วไปของแต่ละอำเภอ
จังหวัดนครราชสีมา
คำขวัญ, อำเภอ, จังหวัดนครราชสีมา
ที่อยู่: | ที่ว่าการอำเภอปักธงชัย ถนนสืบศิริ ตำบลเมืองปัก อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา 30150 |
โทรศัพท์: | 0 4445 1658 |