วัดบึง


รายละเอียด

ประวัติความเป็นมา

    พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2220 สังกัดมหานิกาย สร้างในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2230 เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง สันนิษฐานว่า เป็นวัดที่เจ้านาย หรือ ขุนนางชั้นผู้ใหญ่สร้างขึ้น จึงมีสมญานามว่า วัดบึงขุนนาง เพราะมีหลักฐานทางโบราณคดีทั้งทางด้านศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม ภายในวัดประกอบด้วย ศิลปวัตถุ โบราณวัตถุที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เช่น พระอุโบสถ ตู้พระะรรม และภาพจิตรกรรม เป็นต้น น่าจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกวัดบึง เป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งแต่วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2539 โดยเหตุที่วัดแห่งนี้ในอดีตตั้งอยู่กลางบึง จึงเรียงขานกันว่า วัดบึง จนถึงปัจจุบัน 

ลักษณะวัด พัทธสีมา

ประเภทวัด พระอารามหลวง

อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ ศาลาปฏิบัติธรรม กุฏิสงฆ์ หอกลอง-ระฆัง และหอสมุด

การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ

1. พระวินัยธรนิล พ.ศ. 2320-2350

2. พระวินัยธรมี พ.ศ. 2350-2400

3. พระวินัยธรฉิม พ.ศ. 2400-2445

4. พระปุ๊ก พ.ศ. 2445-2465

5. พระวินัยธรหว่าง พ.ศ. 2465-2482

6. พระมงคลสีหราชมุนี พ.ศ. 2482-2509

7. พระปทุมญาณมุนี พ.ศ. 2510-2534

8. พระกิตติรามมุณี พ.ศ. 2534

9. พระเทพสีมาภรณ์ (นวล เขมสจฺจวาที) พ.ศ. 2534-2554

10. พระราชสีมาภรณ์ (วันชัย กนฺตจารี) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

สิ่งที่น่าสนใจ

- พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนลักษณะฐานแอ่นกลางเป็นรูปสำเภาอันเป็นเอกลักษณ์ศิลปะอยุธยาตอนปลาย เรียกตามภาษาช่างว่า โค้งปากตะเภา หลังคาลด 2 ชั้น ทางสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย มีรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มุงกระเบื้องดินเผา เสากลมฐานใหญ่ปลายเล็กเรียว ห้วเสาเป็นรูปดอกบัวกลีบยาว จำนวน 14 ต้น หน้าต่างด้านละ 5 ช่อง คันทวยหรือไม้ค้ำยันแกะเป็นรูปพญานาคทั้งแบบนาคประดับลวดลายและนาคเปลือย จำนวน 12 อัน แต่ละอันยาวประมาณ 2 เมตร ประตูหน้า 3 ประตู และประตูหลัง หน้าบันทิศตะวันออกเป็นไม้แกะสลักรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณอยู่ท่ามกลางลายก้านขด หน้าบันทิศตะวันตกเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑท่ามกลาง มีองค์ประกอบครบถ้วนที่ทรงคุณค่าทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม ที่ยังคงความสมบูรณ์ที่สุดในจังหวัดนครราชสีมา และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธด้านสถานปัตยกรรมและจิตรกรรม

- ภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถเขียนบรรยายพระพุทธประวัติ จำนวน 14 ภาพ

- พระประธาน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ลงรักปิดทอง ขนาดหน้าตักกว้าง 6 ศอก พระพักตร์ค่อนข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยม ลักษณะศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย และมีพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร ลักษณะศิลปะสมัยลพบุรี ขนาดสูง 62 นิ้ว ประดิษฐานรอบองค์พระประธาน จำนวน 6 องค์

- โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม-แผนกบาลี-แผนกสามัญ

- ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์

- สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนครราชสีมา แห่งที่ 82

หัวเรื่อง

วัดในจังหวัดนครราชสีมา

หมวดหมู่

ศาสนสถาน

คำสำคัญ

พระอารามหลวง, วัดหลวง, วัด

ข้อมูลการติดต่อ

ที่อยู่:82 ถนนจอมพล ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000
แผนที่:https://goo.gl/maps/QRbhtNQTHThAwqdk8

คลังภาพ

ซุ้มประตูโขง
หน้าบันซุ้มประตูโขง
พระพุทธรูปปางมารวิชัย (หลวงพ่อโตอู่ทอง) พระประธานในอุโบสถ
พระพุทธรูปปางมารวิชัย (หลวงพ่อโตอู่ทอง) พระประธานในอุโบสถ
เสากลมฐานใหญ่ปลายเล็กเรียว ห้วเสาเป็นรูปดอกบัวกลีบยาว
อุโบสถ
อุโบสถ
อุโบสถมีฐานแอ่นโค้งสำเภาอันเป็นเอกลักษณ์ศิลปะอยุธยาตอนปลาย
หน้าบันอุโบสถ
หน้าบันอุโบสถ
ประตูอุโบสถ
หน้าต่างอุโบสถ
หน้าต่างอุโบสถ
คันทวยหรือไม้ค้ำยัน
เสมา
เสมา
กุฏิสงฆ์
หน้าบันกุฏิสงฆ์
กุฎิสงฆ์
อาคารโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดบึงกิตติวิทยา
หน้าบันอาคารเรียนพระปริยัติธรรม
หน้าบันอาคารเรียนปริยัติธรรม
หอระฆัง
มณฑปหอระฆัง
จิตตกรรมฐานหอระฆัง
หอระฆัง
หอสมุดทิพย์ รัตนพาณิชย์
หน้าบันหอสมุดทิพย์ รัตนพาณิชย์
ศาลาเอนกประสงค์เก็บของโบราณ
เจดีย์บรรจุอัฐิพระบรมสารีริกธาตุ อัฐิของอดีตเจ้าอาวาสวัดบึง และอัฐิของบรรพบุรุษที่ปฏิสังขรณ์วัด
เจดีย์บรรจุอัฐิ
ฉัตรเจดีย์บรรจุอัฐิ

รายการอ้างอิง

  1. กระทรวงศึกษาธิการ. กรมการศาสนา. (2542). ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 17. กรุงเทพฯ: กระทรวง. เทิดชาย บำรุง. (2553). พลวัตการท่องเที่ยวอีสานใต้ : ค้นหารอยยิ้มร่วมสมัยแห่งกาลเวลาผ่านงานวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
  2. สถาบันราชภัฏนครราชสีมา. ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม. ของดีโคราช เล่มที่ 2 สาขาศิลปะและภาษา. นครราชสีมา: สถาบัน.