วัดสามัคคีสโมสร หรือ วัดสามัคคีสโมสรบ้านโป่งแดง


รายละเอียด

ประวัติความเป็นมา

       ความเดิมนั้นวัดในบ้านหมู่บ้านโป่งแดง มีเพียงวัดเดียวชื่อ วัดโป่งลาว หรือ เรียกกันภายหลังว่า วัดใน และเปลี่ยนชื่อเป็น วัดอุดมสามัคคี เมื่อมีชาวบ้านมากขึ้น และคนนิยมบวชมากขึ้น จึงได้ขยายวัดออกเป็น 2 วัด คือ วัดใน กับ วัดตะวันออก (โป่งบูรพาราม) โดยการนำของศรัทธาของญาติโยม ฝ่ายตะวันออกซึ่งมี เฒ่าแตง เฒ่าอ่ำ และเฒ่าเพ็ง เป็นผู้อุปถัมภ์ ต่อมา หลวงพ่อพระครูอินทร์สังวร (ทิม) หลังจากได้เป็นเจ้าคณะแขวงสูงเนินแล้ว ได้จัดสร้างวัดนอกขึ้น มีชื่อเรียกว่าทางราชการว่า วัดโป่งใต้ และต่อมาได้เปลี่ยนเป็น วัดสุริยาเย็น ดังนั้นวัดบ้านโป่งแดงจึงมี 3 วัด คือ

      1. วัดอุดมสามัคคี (วัดใน-วัดลาว) สร้าง พ.ศ. 2392 มีเนื้อที่ 4 ไร่ 2 งาน 16 ตาราวา

      2. วัดโป่งบูรพาราม (วัดตะวันออก) สร้าง พ.ศ. 2460

      3. วัดโป่งใต้ (วัดสุริยาเย็น-วัดนอก) สร้าง พ.ศ. 2464 มีเนื้อที่ 7 ไร่

       ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 ชาวบ้านและชาววัด อันมีพระครูปลัดเพียม ธมฺมสาโร เป็นประธาน ต่างมีความเห็นร่วมกันว่า วัดอุดมสามัคคี และวัดโป่งใต้ มีเขตวัดติดต่อกันควรจะรวมเข้าด้วยกันเพื่อสะดวกในการบำรุงและบูรณะพัฒนาวัดให้ดียิ่งขึ้น จึงได้ประชุมปรึกษาหารือตกลงมีมติเป็นเอกฉันท์ให้รวมวัดทั้ง 2 วัด เป็นวัดเดียวกัน และได้เสนอทางการไปตามลำดับ ทางการจึงได้ประกาศรวมวัดทั้ง 2 วัด และตั้งชื่อใหม่ว่า วัดสามัคคีสโมสร แปลว่า วัดเป็นที่ประชุมกลมเกลียว เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันทั้งชาวบ้านและชาววัด มีเนื้อที่ 11 ไร่ 2 งาน 16 ตาราวา และได้รับพระราชทาน วิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2524

       ในปีที่รวมวัดหลวงพ่อนาค ฐิตปญฺโญ ได้เป็นผู้นำดำเนินการก่อสร้างศาลาการเปรียญและกุฏิหลังใหม่ โดยความอุปถัมถ์ของนายธเนศ เอียสกุล และญาติโยมสาธุชนชาวบ้านโป่งแดง-กรุงเทพฯ และจังหวัดอื่น ๆ จนเสนาสนะดังกล่าวสำเร็จสมบูรณ์ และได้สร้างเมรุสำหรับเผาศพเมื่อ พ.ศ. 2516 ดังนั้นนับตั้งแต่ปี 2513 เป็นต้นมาบ้านโป่งแดงจึงมี 2 วัด คือ  1. วัดสามัคคีสโมสร (วัดโป่งใต้ และวัดใน) 2. วัดโป่งบูรพาราม (วัดตะวันออก)

ลักษณะวัด พัทธสีมา

ประเภทวัด วัดราษฎร์

อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย อุโบสถ ศาลาการเปรียญ ศาลาปฏิบัติธรรม ศาลาหอฉัน กุฏิสงฆ์ หอระฆัง และฌาปนสถาน

การบริหารและการปกครอง วัดอุดมสามัคคี (วัดใน) มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ

1. พระอาจารย์ปลัดสุข

2. พระอาจารย์หรี่

3. พระอาจารย์เสือ

4. พระอาจารย์เพิ่ม

5. พระอาจารย์พุ่ม

6. พระอาจารย์สวัสดิ์

7. พระอาจารย์คง

8. พระอาจารย์บุญ

9. พระอาจารย์สุวรรณ (สมัยรวมวัด)

การบริหารและการปกครอง วัดโป่งใต้ (วัดสุริยาเย็น-วัดนอก) มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ

1. พระครูอินทรีย์สังวร (ทิม)

2. พระอาจารย์หมอก

3. พระอธิการเทียน

4. พระอธิการฉัตร

5. พระอธิการอ่อง

6. พระครูปลัดเพี่ยม (สมัยรวมวัด)

การบริหารและการปกครอง วัดสามัคคีสโมสร (วัดโป่งใต้-วัดใน) มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ

1. พระโชติ โชติปญฺโญ

2. พระกลิ้ง อนาลโย

3. พระบุญ จตฺตสลฺโล

4. พระสมบูรณ์ ปุณณสีโล

5. พระมานัส

6. พระประยูร พุทธครุโก

7. พระอธิการจีน เขมวโร

8. พระครูสันติศีลคุณ (จรัส สนุตมโน)

9. พระครูประยุตธรรมสโมราน (ทองอยู่ ยุตฺตธมฺโม)

10. เจ้าอธิการจรัส สนฺตมโน เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

สิ่งที่น่าสนใจ

- หลวงพ่อแก่นจันทร์ ศิลปะล้านช้าง ลักษณะที่สำคัญคือ พระกรรณ (หู) มีเบ้าพระกรรณขนาดใหญ่ ติ่งพระกรรณห้อยยาวโค้งออกจากลำคอ ได้รับอิทธิพลอยุธยา เพราะฐานสูงและมีผ้าทิพย์ มีไรพระศก

- อุโบสถเก่า วัดอุดมสามัคคี หรือ วัดลาว หรือ วัดใน หรือ วัดโป่งเหนือ สร้างในปี พ.ศ. 2392 ทำด้วยไม้ขนาด 3 ห้อง ด้านหน้าและด้านหลังเป็นโถงระเบียง ช่องหน้าต่างมีซี่ลูกกรงไม้ด้านล่าง

- อุโบสถเก่า วัดสุริยาเย็น หรือ วัดโป่งใต้ ก่อด้วยอิฐถือปูน สร้างในปี พ.ศ. 2664 หน้าบันทางด้านทิศตะวันออก และทิศตะวันตก เป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ มีหลวงพ่อปากแดง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2490 เป็นพระประธานในอุโบสถ ใต้ฐานบรรจุอัฐิพระครูอินทรีย์สังวร (ทิม) พระอธิการเทียน พร้อมด้วยพุทธบริษัท 

- กราบไหว้พระบูรพาจารย์

- สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนครราชสีมา แห่งที่ 80

หัวเรื่อง

วัดในจังหวัดนครราชสีมา

หมวดหมู่

ศาสนสถาน

คำสำคัญ

วัด

ข้อมูลการติดต่อ

ที่อยู่:บ้านโป่งแดง หมู่ที่ 1 ตำบลโป่งแดง อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา 30280
แผนที่:https://goo.gl/maps/Pa3SYMWe77NzhZhi6

คลังภาพ

ป้ายชื่อวัด
ซุ้มประตูโขง
หน้าบันซุ้มประตูโขง
ซุ้มประตูโขง
หน้าบันซุ้มประตูโขง
อุโบสถหลังใหม่
อุโบสถหลังใหม่
อุโบสถหลังใหม่
ซุ้มกำแพงแก้วอุโบสถหลังใหม่
หน้าบันซุ้มกำแพงแก้วอุโบสถหลังใหม่
หน้าบันซุ้มกำแพงแก้วอุโบสถหลังใหม่
ซุ้มกำแพงแก้วอุโบสถหลังใหม่
หน้าบันอุโบสถหลังใหม่
ประตูอุโบสถอุโบสถหลังใหม่
หน้าต่างอุโบสถหลังใหม่
ซุ้มหน้าต่างอุโบสถหลังใหม่
เสมา และซุ้มกำแพงแก้วอุโบสถหลังใหม่
อุโบสถหลังเก่า
อุโบสถหลังเก่า
หน้าบันอุโบสถหลังเก่า
ประตูอุโบสถหลังเก่า
หน้าต่างอุโบสถหลังเก่า
อุโบสถไม้
อุโบสถไม้
อุโบสถไม้
อุโบสถไม้
อุโบสถไม้
ประตูอุโบสถไม้
หน้าต่างอุโบสถไม้
หน้าต่างอุโบสถไม้
เสมา
ศาลาการเปรียญ
หน้าบันศาลาการเปรียญ
กุฏิสงฆ์
กุฏิสงฆ์
ศาลาหอฉันสังวรสามัคคีหลังเก่า
ศาลารูปปั้นจำลองพระเกจิอาจารย์
หอระฆัง
หน้าบันหอระฆัง
กลอง
ระฆัง
ฌาาปนสถาน
ฌาาปนสถาน
ฌาาปนสถาน

รายการอ้างอิง

  1. กระทรวงศึกษาธิการ. กรมการศาสนา. (2542). ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 17. กรุงเทพฯ: กระทรวง.