วัดครบุรี


รายละเอียด

ประวัติความเป็นมา

    สร้างเมื่อ พ.ศ. 2422 สังกัดมหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2432 ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 เริ่มแรกเป็นเพียงสำนักสงฆ์หลวงปู่นิล ซึ่งเป็นพระนักปฏิบัติธรรม เป็นที่เคารพของชาวอำเภอครบุรี และประชาชนทั่วไป ปัจจุบันหลวงปู่นิลได้มรณภาพแล้ว เหตุที่ชื่อ วัดครบุรี

ที่มาของชื่อวัด เนื่องจากอยู่ที่บ้านครบุรี และตั้งอยู่ติดลำน้ำครบุรี

ลักษณะวัด พัทธสีมา

ประเภทวัด วัดราษฎร์

อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย อุโบสถ ศาลาอเนกประสงค์ ศาลาหอฉัน ศาลาปฏิบัติธรรม กุฏิสงฆ์ และฌาปนสถาน

การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ

1. พระพูน พ.ศ. 2422-2445

2. พระสี พ.ศ. 2445-2474

3. พระสุข พ.ศ. 2474-2482

4. พระเชย พ.ศ. 2482-2490

5. พระเปรี่ยม พ.ศ. 2490-2495

6. พระเทา พ.ศ. 2495-2499

7. พระอธิการหลง ทีปธมฺโม พ.ศ. 2499-2506

8. พระชื่น ญาณโสธฺโร พ.ศ. 2506-2507

9. พระครูนครธรรมโฆสิต (หลวงปู่นิล อิสฺสริโก) พ.ศ 2507-15 สิงหาคม 2537

10. พระครูใบฎีกา บุญธมฺมธีโร พ.ศ. 2537

11. พระครูถาวรธรรมวิธาน ลือชัย เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

สิ่งที่น่าสนใจ

- เครื่องรางของขลัง คาถาอาคม และวัตถุมงคลของหลวงปู่นิล

- ยาตำราแผนโบราณ เป็นการสงเคราะห์รักษาพยาบาลผู้ยากไร้ โดยไม่คิดมูลค่า โดยหลวงปู่นิล ได้ให้การรักษา ด้วยคาถาอาคม ควบคู่กับการใช้ยาสมุนไพร

- เจดีย์อิสฺสริโกเจติยานุสรณ์ หรือ พิพิธภัณฑ์หลวงปู่นิล อิสฺสริโก สร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิ และอัฐบริขารของหลวงปู่นิล สร้างเมื่อ พ.ศ. 2541 พร้อมเก็บรวบรวมประวัติ วัตถุมงคล และเครื่องปรุงยาโบราณของหลวงปู่นิล เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาอย่างครบถ้วน และสำหรับผู้ที่เคารพศรัทธากราบไหว้บูชา

- มณฑปหลวงปู่นิล อิสฺสริโก เดิมเป็นที่ตั้งโลงศพหลวงปู่นิล อิสฺสริโก

- กุฏิไม้เก่าแก่ ที่มีรูปแบบการก่อสร้างอาคารแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะเสาไม้กลมขนาดใหญ่ จำนวน 50 ต้น เป็นเสาหลักของอาคารใหญ่ มีอายุมายาวนาน ปัจจุบันใช้เป็นศาลาอเนกประสงค์ กุฏิสงฆ์ และสถานที่ใช้ประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนา

หัวเรื่อง

วัดในจังหวัดนครราชสีมา

หมวดหมู่

ศาสนสถาน

คำสำคัญ

วัด, วัดหลวงปู่นิล

ข้อมูลการติดต่อ

ที่อยู่:บ้านครบุรี หมู่ที่ 6 ตำบลครบุรี อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา 30250
แผนที่:https://goo.gl/maps/a2C1JjUykTMmUHzn6

คลังภาพ

ซุ้มประตูโขง
หน้าบันซุ้มซุ้มประตูโขง
ซุ้มประตูโขง
หน้าบันซุ้มประตูโขง
โบสถ์
โบสถ์
เพดานดาว
หน้าบันโบสถ์
หน้าบันโบสถ์
ประตูโบสถ์
ซุ้มประตูโบสถ์
หน้าต่างโบสถ์
ซุ้มหน้าต่างโบสถ์
เสมา
เสมา
บันไดโบสถ์ด้านหน้า
หน้าบันซุ้มกำแพงแก้ว
ซุ้มประตูกำแพงแก้ว
รูปหล่อหลวงปู่นิล อิสฺสริโก
รูปหล่อหลวงปู่นิล อิสฺสริโก
เจดีย์อิสฺสริโกเจติยานุสรณ์ หรือ พิพิธภัณฑ์หลวงปู่นิล อิสฺสริโก
ซุ้มประตูเจดีย์อิสฺสริโกเจติยานุสรณ์ หรือ พิพิธภัณฑ์หลวงปู่นิล อิสฺสริโก
ยอดเจดีย์เจดีย์อิสฺสริโกเจติยานุสรณ์ หรือ พิพิธภัณฑ์หลวงปู่นิล อิสฺสริโก
อัฐิหลวงปู่นิล อิสฺสริโก
อัฐิหลวงปู่นิล อิสฺสริโก
อัฐิหลวงปู่นิล อิสฺสริโก
เครื่องอัฐบริขาร
เครื่องอัฐบริขาร
เครื่องอัฐบริขาร
พัดยศหลวงปู่นิล อิสฺสริโก
มณฑปหลวงปู่นิล อิสฺสริโก
หน้าบันซุ้มประตูมณฑปหลวงปู่นิล อิสฺสริโก
ภายในวิหารอัฐิหลวงปู่นิล อิสฺสริโก
ภายในมณฑปหลวงปู่นิล อิสฺสริโก
ศาลาเอนกประสงค์
หน้าบันศาลาเอนกประสงค์
ศาลาเอนกประสงค์
ศาลาเอนกประสงค์
หอระฆัง
หน้าบันหอระฆัง
มณฑปและหอระฆัง
ฌาปนสถาน
หน้าบันฌาปนสถาน
ฌาปนสถาน

รายการอ้างอิง

  1. กระทรวงศึกษาธิการ. กรมการศาสนา. (2542). ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 17. กรุงเทพฯ: กระทรวง.
  2. ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ. บัญชีรายชื่อวัดในจังหวัดนครราชสีมา (ปี 2560). สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2562, จาก http://sites.google.com/a/secondary33.go.th/sanakngan-phraphuthth-sasna-canghwad-nkhrrachsima/baychi-ray-chux-wad-ni-canghwad-nkhrrachsima-pi2560