วัดพรหมราช


รายละเอียด

ประวัติความเป็นมา

    ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2400 สังกัดมหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2524

ลักษณะวัด พัทธสีมา

ประเภทวัด วัดราษฎร์

อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย อุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ และหอกลอง-ระฆัง 

การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ

1. พระราชสีมาภรณ์ (โอภาส นิรุตฺติเมธี) พ.ศ. 2500-2534

2. พระครูโกศลธรรมวิบูล เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

สิ่งที่น่าสนใจ

- อุโบสถโถง หรือ อุโบสถโล่ง สถาปัตยกรรมที่โดดเด่น คือ ไม่มีฝากั้น ขนาด 3 ห้อง เสาไม้ 8 เหลี่ยม ก่ออิฐยกพื้นสูงประมาณ 1 เมตร หลังคามุงด้วยสังกะสี ปัจจุบันไม่ได้ทำสังฆกรรมแล้ว ภายในเป็นที่ตั้งพระพุทธรูปบูชาหลายองค์ เพื่อความเป็นสิริมงคล

- พิพิธภัณฑ์ของโบราณ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านวัฒนธรรม โดยการริเริ่มของอดีตเจ้าอาวาสวัดในปี พ.ศ. 2530 สำหรับอาคารหลังปัจจุบันสร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2544 เป็นอาคาร 2 ชั้น เพื่อจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ของชุมชนในอดีต และวัตถุโบราณล้ำค่า จัดเป็นหมวดหมู่ โดยชั้นที่ 1 จัดแสดง พระพุทธรูป เครื่องลายคราม เครื่องเบญรงค์ ข้าวของเครื่องใช้ในอดีต ที่มีขนาดใหญ่ ชั้นที่ 2 จัดแสดงพระพุทธรูป ปฏิมากรรมหินทราย คัมภีร์โบราณ ผ้าห่อคัมภีร์ ข้าวของเครื่องใช้ในอดีต ที่มีขนาดเล็ก เป็นต้น

- ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์

- ศูนย์วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

- โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน

- ห้องสมุดประชาชน

- สวนสมุนไพร พุทธโอสถ เฉลิมพระเกียรติ

เกียรติประวัติ

- อุทยานการศึกษาในวัด ประจำปี พ.ศ. 2538

หัวเรื่อง

วัดในจังหวัดนครราชสีมา

หมวดหมู่

ศาสนสถาน

คำสำคัญ

วัด

ข้อมูลการติดต่อ

ที่อยู่:หมู่ที่ 8 ตำบลตูม อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา 30150
เว็บไซต์:http://watpromrach.blogspot.com/
แผนที่:https://goo.gl/maps/BAQMjTNWUvEje7wj9

รายการอ้างอิง

  1. กระทรวงศึกษาธิการ. กรมการศาสนา. (2542). ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 17. กรุงเทพฯ: กระทรวง. สถาบันราชภัฏนครราชสีมา. ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม. ของดีโคราช เล่มที่ 2 สาขาศิลปะและภาษา. นครราชสีมา: สถาบัน.
  2. สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครราชสีมา. ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ. บัญชีรายชื่อวัดในจังหวัดนครราชสีมา (ปี 2560). สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2562, จาก http://sites.google.com/a/secondary33.go.th/sanakngan-phraphuthth-sasna-canghwad-nkhrrachsima/baychi-ray-chux-wad-ni-canghwad-nkhrrachsima-pi2560