วัดศาลาเย็น


รายละเอียด

ประวัติความเป็นมา     สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2404 สังกัดมหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ไม่ปรากฎหลักฐานผู้สร้าง เข้าใจว่ามีมาตั้งแต่การก่อตั้งค่ายทหารที่บ้านหนองบัว ซึ่งมีกองพันทหารมาตั้งอยู่ สัณนิษฐานว่าประชาชน และข้าราชการทหารร่วมกันสร้างวัดขึ้น พร้อมทั้งได้พัฒนาวัดมาอย่างต่อเนื่องแต่ยังไม่เจริญรุ่งเรืองเท่าที่ควร เพราะวัดอยู่นอกกำแพงเมือง ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดไชยมนัส" และพระอาจารย์ปลอด ได้เปลี่ยนกลับมาใช้ชื่อเดิม คือ วัดศาลาเย็น เมื่อปี พ.ศ. 2541 ลักษณะวัด พัทธสีมา ประเภทวัด วัดราษฎร์ อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย อุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ หอกลอง-ระฆัง ศาลาบำเพ็ญกุศล และฌาปนสถาน การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ 1. พระอาจารย์โอบ 2. พระอาจารย์พรหม 3. พระอาจารย์เลื่อย 4. พระอาจารย์ยอด 5. พระอาจารย์อินทร์ 6. พระอาจารย์ปลอด 7. พระอาจารย์ทั่ง 8. พระมหาปรีชา 9. พระมหาสิน 10. พระอธิการยม สิรวณุโณ 11. พระอาจารย์พูน ญาณวิโร 12. พระมหาแป้น อาภาธโร 13. พระครูศีลวัตรวิสุทธิ์ (บุญธรรม ปิยวณฺโณ) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน สิ่งที่น่าสนใจ - อุโบสถไม้ กว้าง 8 เมตร ยาว 12 เมตร ความสูงจากพื้นดินถึงยอดจั่วประมาณ 9 เมตร หน้างต่าง 8 บาน ข้างละ 4 บาน ขนาดกว้าง .90 เมตร สูง 1.20 เมตร ประตูด้านหน้าดัดแปลงให้กว้างแล้วใช้เหล็กยึดเหมือนร้านค้าแทนประตูไม้ ส่วนด้านหลังมีประตู 2 บาน กว้างประมาณ 1.20 เมตร สูง 2 เมตร ผนังด้านล่างก่ออิฐสกัดปูนสูง 1 เมตร แล้วตีฝาเกล็ดแนวนอน 2 เมตร นอกนั้นตีฝาแนวตั้ง จั่วตีฝาเกร็ดแนวนอน หลังคามุงสังกะสีภายในเป็นเสาไม้ 8 เหลี่ยม ยกพื้นโรงพระอุโบสถประมาณ 20 เซนติเมตร เกียรติประวัติ - อุทยานการศึกษาในวัด ประจำปี พ.ศ. 2545 - วัดพัฒนาตัวอย่าง ประจำปี พ.ศ. 2551 - วัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2556

หัวเรื่อง

วัดในจังหวัดนครราชสีมา

หมวดหมู่

ศาสนสถาน

ข้อมูลการติดต่อ

ที่อยู่:บ้านหนองโสน หมู่ที่ 3 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000

รายการอ้างอิง

  1. กระทรวงศึกษาธิการ. กรมการศาสนา. (2542). ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 17. กรุงเทพฯ: กระทรวง. ณัฐกุล คำมะวงค์. พิษณุ ใจกล้า. วนัสนันท์ บริสุทธิ์. (2557). วัดในอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา : วัดบุ่ง วัดหนองจะบก วัดหงษาราม วัดศาลาเย็น วัดศาลาทอง. นครราชสีมา: สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. สถาบันราชภัฏนครราชสีมา. ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม. ของดีโคราช เล่มที่ 2 สาขาศิลปะและภาษา. นครราชสีมา: สถาบัน.