แคนา


รายละเอียด

ชื่อวิทยาศาสตร์: Dolichandrone serrulata (Wall. ex DC.) Seem.

ชื่อวงศ์: BIGNONIACEAE

ชื่ออื่น: แคเก็ตถวา (เชียงใหม่), แคตุ้ย แคแน แคฝา แคฝอย แคหยุยฮ่อ แคแหนแห้ (ภาคเหนือ), แคทราย (นครราชสีมา), แคนา (ภาคกลาง), แคป่า (เลย ลำปาก), แคพูฮ่อ (ลำปาง), แคยาว แคอาว (ปราจีนบุรี)

ลักษณะวิสัย: ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 10-20 เมตร ผลัดใบ

- ใบ ช่อใบเรียงตรงข้ามเป็นคู่ ใบย่อย 5-7 คู่ เรียงตรงข้าม ใบรูปรีหรือรูปไข่กลับ ฐานใบ รูปลิ่ม ปลายใบแหลม โคนใบสอบเบี้ยว ขอบใบจักช่วงปลายใบ มีต่อมประปราย ด้านท้องใบ

ดอก สีขาว ออกเป็นช่อ มี 3-7 ดอกย่อย แบบช่อกระจะ ออกสั้น ๆ ตามปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง รูปรี ปลายแหลม กลีบดอก รูปแตร สีครีมขาว โคนกลีบเชื่อมกันเป็นหลอด เรียวแคบ ปลายแยกเป็น 5 กลีบตื้น ๆ คล้ายระฆัง ขอบกลีบยับย่น เกสรเพศผู้มี 4 อัน สองคู่ยาวไม่เท่ากันและไม่ยื่นพ้นปากหลอดกลีบดอกเกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน มี 1 อัน รูปเส้นด้าย อับเรณูสีเทาดำ เกสรเพศเมีย รังไข่รูปทรงกระบอกแคบ

ผล ผลแบบแคปซูล ฝักยาว ปลายแหลม บิดเป็นเกลียว ผิวฝักเกลี้ยง ไม่มีขน เมล็ดรูปสี่เหลี่ยม มีปีกบางใส

รส ขมเล็กน้อย

การกระจายพันธุ์: การเพาะเมล็ด

การใช้ประโยชน์: เนื้อไม้ ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน 

- ด้านอาหาร ดอกสด กินกับลาบ ซุปดอกแค ลวกต้มกินกับน้ำพริก ใส่แกงส้ม ผัดน้ำมันหอย โดยก่อนนำดอกมาทำอาหาร ควรนำส่วนที่เป็นเกสรเพศผู้ออกก่อน เพื่อลดความขม

- ด้านสมุนไพร รากและเปลือกต้น แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ บำรุงโลหิตใช้กับสตรีหลังคลอด ใบ ใช้ตำพอกแผล หรือต้ม น้ำบ้วนปาก ดอกใช้ขับเสมหะ โลหิต และขับผายลม เมล็ด แก้อาการปวดประสาท แก้โรคชัก

หัวเรื่อง

พฤกษาพรรณบรรณสาร : ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

หมวดหมู่

พืช

คำสำคัญ

ไม้พื้นถิ่น, พืชป่าที่เป็นอาหาร, ต้นไม้

ข้อมูลการติดต่อ

ที่อยู่:ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000

คลังภาพ

เปลือก
ดอก

รายการอ้างอิง

  1. ทักษิณ อาชวาคม ... [และคนอื่น ๆ]. (2551). พืชกินได้ในป่าสะแกราช เล่ม 1. ปทุมธานี ; นครราชสีมา : สถานีวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ; สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช.
  2. หนูเดือน เมืองแสน ... [และคนอื่นๆ]. (2557). พรรณไม้ใน มทส.. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.