เสี้ยวป่า


รายละเอียด

ชื่อวิทยาศาสตร์Bauhinia saccocalyx Pierre
ชื่อวงศ์FABACEAE (LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE)
ชื่ออื่นคิงโค (นครราชสีมา) ชงโค (ภาคกลาง อุทัยธานี) ส้มเสี้ยว (ภาคกลาง อุดรธานี) ส้มเสี้ยวโพะ (เลย) เสี้ยวดอกขาว (เลย ภาคเหนือ), เสี้ยวป่า (เชียงใหม่ น่าน)
ลักษณะวิสัย:ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นได้ประมาณ 5-10 ม. ทรงพุ่มกลมเตี้ย แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มเตี้ย
ต้นลำต้นขรุขระ เปลือกลำต้นเป็นสีเทาปนสีน้ำตาล แตกเป็นร่องยาวตื้นและลึกตามลำต้น บางครั้งร่อนเป็นแผ่นบาง กิ่งก้านคดงอ แตกออกจากลำต้นอย่างไม่เป็นระเบียบ เนื้อไม้เปราะและหักง่าย ลายไม้ไม่เป็นระเบียบ
ใบใบเดี่ยว เรียงแบบสลับ รูปไข่กว้าง ฐานใบรูปหัวใจ ปลายใบแหลมขอบใบเรียบ
ดอกออกเป็นช่อ แบบช่อกระจะ ดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ โคนเชื่อมกันปลายแยกเป็น 2 แฉก รูปไข่ กลีบดอกมี 5 กลีบรูปไข่ สีขาว เกสรเพศผู้มี 10 อัน ยาว 5 อัน สั้น 5 อัน เกสรเพศเมียมีรังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มีขนหนาแน่น ออกดอกเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม
ผลผลเป็นฝักแบน ผลแห้งแตกตามยาว รูปแบนและแข็ง ผิวเกลี้ยง เมล็ดแบน 3-5 เมล็ด
รสเปรี้ยว
การขยายพันธุ์การเพาะเมล็ด ไหลราก
ประโยชน์ปลูกเป็นไม้ประดับริมทางทั่วไป ออกดอกดกดีมาก ดอกมีสีขาวและมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ตัดแต่งหรือให้เลื้อยขึ้นค้างได้ แต่ยังไม่นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้านมากนัก
ส่วนที่ใช้เป็นอาหารใบ ยอด

หัวเรื่อง

พฤกษาพรรณบรรณสาร : ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

รายการอ้างอิง

  1. เสี้ยวป่า. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฏาคม 2558, จาก http://frynn.com/เสี้ยวป่า/ เอื้อมพร วีสมหมาย และทยา เจนจิตติกุล. (2544). พฤกษาพัน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ เอช.เอน กรุ๊ป. หนูเดือน เมืองแสน...[และคนอื่นๆ]. (2557). พรรณไม้ใน มทส.. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี