การะเกดหนู


รายละเอียด

ชื่อวิทยาศาสตร์Pandanus sp. Golden Pygmy
ชื่อวงศ์PANDANACEAE
ชื่ออื่นลำเจียกหนูด่าง
ลักษณะวิสัย:ไม้คลุมดิน
ต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน ก้านใบแผ่ออกเป็นกาบโอบหุ้มลำต้นแบบสลับโดยรอบ มีรากค้ำยัน
ใบใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับแน่น ใบรูปขอบขนานแคบ กว้าง 0.6-1.3 ซม. ยาว 30-50 ซม. ปลายใบค่อย ๆ เรียวเเหลม โคนใบแผ่ออกเป็นกาบใบ ตรงกลางแผ่นใบมีแถบสีเขียว ขอบใบสี เหลืองนวล ตามขอบใบและเส้นกลางใบด้านล่างของแผ่นใบมีหนามแหลมเล็ก ๆ บางครั้งพบหนามด้านบน

ใกล้ๆปลายใบ

ดอกสีขาวนวล มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อแบบช่อเชิงลดจากกอ ดอกมีขนาดเล็กไม่มีกลีบเลี้ยงและ กลีบดอก ดอกแยกเพศอยู่คนละต้น ดอกเพศผู้เป็นช่อสั้น ๆ มีกาบหุ้ม ดอกเพศเมียเป็นช่อตั้งตรง 4-6 ดอก กาบเป็นรูปท้องเรือ
ผลผลสด รูปไข่กลับถึงรูปรีภายในมีโพรงอากาศ ขนาดประมาณ 1.5 ซม. มีเมล็ดเดียว
การขยายพันธุ์การแยกหน่อ
ประโยชน์ปลูกคลุมดินในสวนร่วมกับไม้ชนิดอื่นๆที่ชอบแสงแดดจัด การระบายน้ำดีและทนเค็ม เช่น จันทร์ผา เตย มีหนามไม่ควรปลูกใกล้สนามเด็กเล่น ทนเเล้งได้

หัวเรื่อง

พฤกษาพรรณบรรณสาร : ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

คลังภาพ

ใบ

รายการอ้างอิง

  1. ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฏาคม 2558, จาก http://agkc.lib.ku.ac.th/plantwebsite/webpage/Groundcovers/การะเกดหนู.htm
  2. เอื้อมพร วีสมหมาย และทยา เจนจิตติกุล. (2544). พฤกษาพัน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ เอช.เอน กรุ๊ป.