จั๋งจีน


รายละเอียด

ชื่อวิทยาศาสตร์Rhapis humilis Blume
ชื่อวงศ์PALMAE
ชื่ออื่นจั๋งเชียงใหม่
ลักษณะวิสัย:ปาล์มแตกกอ สูงได้ถึง 5 ม. ชอบดินร่วน ระบายน้ำดี
ต้นต้นมีแผ่นใยละเอียด สีน้ำตาลเข้มหรือดำคลุมอยู่หนาแน่น จั๋งจีนคล้ายจั๋งญี่ปุ่น ต่างกันที่จั๋งจีนมีเส้นรยางค์ตามลำต้นหนาแน่น ปลายใบย่อยเรียวแหลมและลู่ลงมากกว่า
ใบใบประกอบรูปพัด เรียงสลับ กว้างประมาณ 40 ซม. มีใบย่อย 10-20 ใบ ขอบใบหยักเว้าถึงสะดือ ใบย่อยเรียวยาว กว้างประมาณ 2 ซม. ยาว 15-18 ซม. ปลายใบแหลมอ่อนลู่ลง โคนใบรูปลิ่ม แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน
ดอกสีขาวครีม ออกเป็นช่อแบบข่อแยกแขนงระหว่างกาบใบ ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น ก้านช่อดอกมีขนปกคลุม
ผลผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว สีเขียวอ่อนอมเหลืองมีขนาดเล็ก แต่มักไม่ติดผล
การขยายพันธุ์การแยกกอ
ประโยชน์ทรงพุ่มสวย ปลูกเป็นประธานสวนหย่อม ไม้กระถาง มุมอาคาร ปลูกเพื่อบังกำแพง บังสายตา ริมทะเล ริมน้ำตก ลำธาร สระว่ายน้ำ

หัวเรื่อง

พฤกษาพรรณบรรณสาร : ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

คลังภาพ

ต้นอ่อน
ใบ

รายการอ้างอิง

  1. ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฏาคม 2558, จาก http://agkc.lib.ku.ac.th/plantwebsite/webpage/Palms/จั๋งจีน.html เอื้อมพร วีสมหมาย และทยา เจนจิตติกุล. (2544). พฤกษาพัน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ เอช.เอน กรุ๊ป.