เล็บครุฑใบเฟิร์น


รายละเอียด

ชื่อวิทยาศาสตร์Polyscias sp.
ชื่อวงศ์ARALIACEAE
ชื่ออื่นครุฑทอดมัน ครุฑใบเทศ เล็บครุฑฝอย (กรุงเทพฯ)
ลักษณะวิสัย:ไม้พุ่มสูง 1-2 ม. ลำต้นส่วนยอดสีเขียวอมน้ำตาลเกือบดำ มีกระสีน้ำตาลอ่อนตามกิ่งมีรูอากาศเห็นได้ชัด
ต้นลำต้นแตกแขนงได้ดี
ใบใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยขอบเว้าลึก ขอบใบจักฟันเลื่อยปลายแหลม ก้านใบส่วนที่ติดกับลำต้นเป็นกาบ ใบเมื่อขยี้ดมจะให้กลิ่นน้ำมันหอมระเหย
ดอกช่อดอกแยกแขนง มีแกนกลางช่อยาว 60 ซม. ขนาดเล็ก ช่อดอกย่อยออกเป็นช่อซี่ร่ม กลีบดอก 5 กลีบ เกสรตัวผู้ 5 อัน
ผลผลรูปเกือบกลม มีเนื้อผล
รสร้อน หอม ฝาด
การขยายพันธุ์การปักชำ
ประโยชน์ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป
ส่วนที่ใช้เป็นอาหารใบและยอดอ่อน รับประทานเป็นผักสดแกล้มลาบ (คนเมือง) ชุบแป้งทอดให้กรอบ จิ้มน้ำพริก
ส่วนที่ใช้เป็นยาใบ รสหอมร้อน ตำแล้วพอกแก้ปวด บวม อักเสบ ราก รสหอมร้อน ต้มดื่มขับปัสสาวะ ระงับประสาท แก้ปวดข้อ สูดดมขับเหงื่อ ทั้งต้น รสฝาดหอม สมานแผล แก้ไข้

หัวเรื่อง

พฤกษาพรรณบรรณสาร : ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

หมวดหมู่

เกษตรกรรม

คำสำคัญ

ไม้ประดับ, พืชกับภูมิอากาศ, พืชลดมลพิษ

ข้อมูลการติดต่อ

ที่อยู่:ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000

รายการอ้างอิง

  1. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนที่สูง. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฏาคม 2558, จาก http://eherb.hrdi.or.th/search_result_details.php?herbariumID=891&name=Polyscias
  2. อาหารพื้นบ้านลานนา. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฏาคม 2558, จาก http://library.cmu.ac.th/ntic/lannafood/detail_ingredient.php?id_ingredient=329
  3. เอื้อมพร วีสมหมาย และทยา เจนจิตติกุล. (2544). พฤกษาพัน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ เอช.เอน กรุ๊ป.
  4.