ว่านงาช้าง


รายละเอียด

ชื่อวิทยาศาสตร์Sansevieria cylindrica Bojer.
ชื่อวงศ์DRACAENACEAE
ชื่ออื่นว่านงาช้างเขียว หอกสุรกาฬ ว่านงาชางลาย หอกสุรโกฬ
ลักษณะวิสัย:ไม้ล้มลุก ลำต้นอยู่ใต้ดิน สูงประมาณ 40-60 ซม.
ต้นลักษณะเป็นหน่อแทงขึ้นมาไม่มีกิ่ง ลักษณะเป็นพุ่ม
ใบเป็นว่านที่ไม่มีใบ
ดอกดอกออกจากเหง้าโผล่ขึ้นมาตั้งตรง ดอกสีขาว มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ
ผล-
รส-
การขยายพันธุ์การแยกหน่อ
ประโยชน์ยาบำรุงโลหิต ใช้ตำโขลกหรือหั่นเป็นแว่น ๆ ผสมกับสุรารับประทานแก้เลือดตีขึ้นในโรคบาดทะยักปากมดลูกในเรือนไฟ จะดองสุราหรือต้มกินก็ได้ ผู้ที่มีใบหน้าเป็นสิว ฝ้าหน้าตกกระ จะช่วยฟอกโลหิตให้ใบหน้าหายจากสิวฝ้า เกลี้ยงเกลาผิวพรรณผุดผ่อง ยาสำหรับสตรีกินหลังคลอดบุตร ช่วยขับโลหิตเสีย โลหิตเป็นพิษ ตำผสมเหล้า หั่นเป็นแว่น ๆ หรือโขลกกับเหล้าโรง หรือน้ำซาวข้าว หรือต้มดื่ม วันละ 2-3 ครั้ง

ราก ใช้เป็นยาเบื่อพยาธิและรักษาริดสีดวงงอกได้ดี โดยใช้รากสด 5-10 กรัม นำมาล้างให้สะอาด โขลกให้ละเอียด อาจผสมเหล้าโรง คั้นเอาแต่น้ำจิบ

ใบ นำไปอังไฟแล้วบีบเอาน้ำหยอดหู แก้ปวดในหู หรือคั้นเอาน้ำไปทาผมเป็นยาบำรุงรากเส้นผม ทำให้ผมดกดำเป็นเงางาม

ปลูกไว้ในบ้านจะช่วยป้องกันภัยทั้งมวล

ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร-

หัวเรื่อง

พฤกษาพรรณบรรณสาร : ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

รายการอ้างอิง

  1. ว่านและสมุนไพรไทย. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฏาคม 2558, จาก http://natres.skc.rmuti.ac.th/WAN/data/nga-chang.htm
  2. เอื้อมพร วีสมหมาย และทยา เจนจิตติกุล. (2544). พฤกษาพัน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ เอช.เอน กรุ๊ป.