ข้าหลวงหลังลาย


รายละเอียด

ชื่อวิทยาศาสตร์Asplenium nidus
ชื่อวงศ์POLYPODIACEAE
ชื่ออื่นเฟิร์นข้าหลวงหลังลาย เฟิร์นรังนก Bird’s nest fern
ลักษณะวิสัย:เป็นเฟิร์นอากาศ อิงอาศัยต้นไม้หรือหินผา ใบยาวรูปขอบขนาน ปลายใบแหลมคล้ายใบหอก หนาและแข็งเป็นมันเส้นใบแก่จะเป็นเป็นสีดำ การเรียงตัวของใบจะเวียนรอบลำต้น ทำให้ดูคล้ายตะกร้า กลุ่มของอับสปอร์ออกเป็นลายยาวขวางกับใบ เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาลดำ ลักษณะของสปอร์จึงเป็นที่มาของชื่อข้าหลวงหลังลาย
ต้นลำต้นสั้น
ใบใบเป็นใบเดี่ยวออกเวียนซ้อนกันรอบ ๆ ลำต้น ใบเป็นใบเดี่ยว ใบยาวรูปขอบขนาน ปลายใบแหลมคล้ายใบหอก สีเขียวอ่อน หนาและแข็งเป็นมันเส้นใบแก่จะเป็นเป็นสีดำ บริเวณขอบใบทั้งสองด้านจะมีลักษณะหยักโค้งเป็นคลื่นตั้งแต่โคนใบไปจนถึงสุดปลายใบ การเรียงตัวของใบจะเวียนรอบลำต้น ทำให้ดูคล้ายตะกร้า ความยาวของใบเมื่อโตเต็มที่ยาวได้ถึงหนึ่งเมตร ความกว้างของใบ 20-30 ซม. ใบหนาผิวของใบเป็นมัน ใบที่เกิดใหม่จะอ่อนและเปราะหักได้ง่ายแต่พอเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะมีความเหนียวและหนามาก กลุ่มของอับสปอร์ออกเป็นลายยาวขวางกับใบ เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาลดำ ลักษณะของสปอร์จึงเป็นที่มาของชื่อข้าหลวงหลังลาย
ดอก-
ผล-
การขยายพันธุ์โดยสปอร์ (Spore) ซึ่งอยู่ด้านหลังใบ
ประโยชน์ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับตามสวน ไม้แขวน กระถาง ใช้เป็นต้นพ่อ-แม่พันธุ์ ในการผสมให้เกิดลูกผสม
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร-

หัวเรื่อง

พฤกษาพรรณบรรณสาร : ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

หมวดหมู่

เกษตรกรรม

คำสำคัญ

ไม้ประดับ

ข้อมูลการติดต่อ

ที่อยู่:ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000

คลังภาพ

ต้น
ต้น
ใบ
ใบ

รายการอ้างอิง

  1. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฏาคม 2558, จาก http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=1823
  2. เอื้อมพร วีสมหมาย และทยา เจนจิตติกุล. (2544). พฤกษาพัน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ เอช.เอน กรุ๊ป.