ปีบ


รายละเอียด

ชื่อวิทยาศาสตร์Millingtonia hortensis L.f.
ชื่อวงศ์BIGNONIACEAE
ชื่ออื่นกาซะลอง (ยะลา ภาคเหนือ) กาดสะลอง (ภาคเหนือ) เต๊กตองโพ่ (กะเหรี่ยง กาญจนบุรี) ปีบ (ภาคกลาง)
ลักษณะวิสัย:ไม้ต้น ขนาดกลางถึงขานดใหญ่ สูง 5-15 ม. เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกระบอก
ต้นเปลือกสีเทาปนน้ำตาลอ่อน แตกเป็นร่องลึก ขรุขระ กิ่งก้านค่อนข้างอ่อน
ใบใบประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น ปลายคี่ เรียงแบบตรงข้าม ใบย่อย 25 คู่ เรียงแบบตรงข้าม รูปรี รูปไข่หรือรูปใบหอก ฐานใบสอบหรือเว้า ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบหยักมนหรือเรียบ ด้านล่างมีนสั้นประปราย
ดอกออกเป็นช่อแบบ ช่อกระจุกแยกแขนง ออกที่ปลายยอด กลีบเลี้ยง มี 5 กลีบ เชื่อมกันคล้ายรูประฆัง กลีบดอก โคนเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายกลีบแยกเป็น 5 แฉก สีขาว เกสรเพศผู้มี 4 อัน เกสรเพศเมียรังไข่อยู่เหนืองวงกลีบ
ผลเป็นฝักแบน เมื่อแก่จะแตกออก ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมีปีกบางใส
รส-
การขยายพันธุ์การเพาะเพล็ด การแยกไหล
ประโยชน์เนื้อไม้ เนื้อไม้อ่อนมีสีเหลือง นิยมใช้ประกอบเป็นเครื่องเรือนประดับบ้าน ดอก ดอกแห้งมวนเป็นบุหรี่สูบแก้หืด ราก แก้หอบ และบำรุงปอด
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร-

หัวเรื่อง

พฤกษาพรรณบรรณสาร : ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

หมวดหมู่

เกษตรกรรม

คำสำคัญ

ไม้ประดับ

ข้อมูลการติดต่อ

ที่อยู่:ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

รายการอ้างอิง

  1. ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฏาคม 2558, จาก http://agkc.lib.ku.ac.th/plantwebsite/webpage/Trees/%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%9A.html
  2. หนูเดือน เมืองแสน...[และคนอื่นๆ]. (2557). พรรณไม้ใน มทส.. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
  3. เอื้อมพร วีสมหมาย และทยา เจนจิตติกุล. (2544). พฤกษาพัน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ เอช.เอน กรุ๊ป.
  4.