รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติ จรัณยานนท์


รายละเอียด

ประวัติ

วันเดือนปีเกิด ถึงแก่อนิจกรรมวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2546 สิริอายุได้ 66 ปี 10 เดือน 7 วัน

คู่สมรส นางสาววิลาวัณยื นารถศิลป์

บุตร จำนวน 1 คน คือ นายสัญชนม์ จรัณยานนท์

การศึกษา

- พ.ศ. 2490 โรงเรียนรัตนาธิเศร์

- โรงเรียนสุรินทร์ "สรุวิทยาคาร"

- พ.ศ. 2495 นักศึกษาโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง

- พ.ศ. 2502 สอบชิงทุนฟุลไบรท์ไปเรียนที่มหาวิทยาลัยเซ็นทรัลมิชิแกน (Michigan University) ประเทศสหรัฐอเมริกา

- พ.ศ. 2507 ปริญญา M.A. ด้านการบริหาร

- พ.ศ. 2520 สอบชิงทุนมหาวิทยาลัยรามคำแหงไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย (Pennsylvania State University)

- พ.ศ. 2523 ได้รับปริญญาเอกทางการศึกษา (Ed.D.)

อาชีพ

- ข้าราชการครู

การทำงาน

- พ.ศ. 2502 อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์ วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร

- พ.ศ. 2509 ผู้เชี่ยวชาญการศึกษาประจำพระราชอาณาจักรลาว

- พ.ศ.2515 อาจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงและได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมสาธิตรามคำแหง

- พ.ศ. 2518 รองคณบดีคณะศึกษาศาสตร์และหัวหน้าภาควิชาพื้นฐานการศึกษา

- พ.ศ. 2526 รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา

- พ.ศ. 2537 ประธานบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษาและสาขาอุดมศึกษา

- พ.ศ. 2538 ประธานบัณฑิตศึกษาสาขาอุดมศึกษา

- พ.ศ. 2539 อาจารย์บัณฑิตพิเศษ

- พ.ศ. 2540 กรรมการสภาของวิทยาลัยลุ่มแม่น้ำปิงในตำแหน่งอุปนายกสภาวิทยาลัย

- พ.ศ. 2544 คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยและผู้อำนวยการหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยเซาท์อิสต์บางกอก

- กรรมการสอบวิทยานิพนธ์

- กรมมการสภาผู้บริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย

แนวคิด/ผลงาน/กิจกรรม

- ด้านการสอนศิษย์ได้สอนด้วยการสอดแทรกแนวความคิด คติสอนใจและแฝงด้วยอารมณ์ขัน

- ผู้ริเริ่มก่อตั้งสมาคมเกียรตินิยมการศึกษาแห่งประเทศไทย

- ผู้ก่อตั้งสาขาวิชาอุดมศึกษา

- ผู้บุกเบิกโรงเรียนสาธิตและได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตรามคำแหงเป็นคนแรก (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง)

- เป็นนักดนตรีและอาจารย์ผู้ควบคุมวงดนตรี มศว ประสานมิตร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

       ประถมาภรณ์ช้างเผือก และประถมาภรณ์มงกุฎไทย

หัวเรื่อง

บุคคลสำคัญ

รายการอ้างอิง

  1. สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2560). ประวัติครู : 16 มกราคม 2548. กรุงเทพฯ: สำนักงาน.