บ้านมะเดื่อ


รายละเอียด

ประวัติความเป็นมา        

     ชาวบ้านกลุ่มแรกที่มาอยู่ในหมู่บ้าน เป็นชาวไทยเชื้อสายมอญได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่อีกฝั่งหนึ่งของหมู่บ้าน ปัจจุบันเป็นพื้นที่ของโรงเรียนพุดซาพิทยาคม และเรียกพื้นที่ฝั่งนั้นว่า "ดอนตาลราว" ในอดีตหมู่บ้านแห่งนี้เกิดโรคระบาด ชาวบ้านเสียชีวิตด้วยโรคอหิวาตกโรคจำนวนมาก เนื่องจากการแพทย์ในสมัยนั้นยังไม่ทั่วถึง        

      นายพจน์ นาพุดซา ชาวบ้านในหมู่บ้าน เล่าว่า หลังจากนั้นผู้ที่มีชีวิตอยู่ก็ย้ายมาอยู่อีกฝั่งหนึ่ง ซึ่งเป็นหมู่บ้านปัจจุบัน โดย นายยอน เป็นแกนนำชาวไทยเชื้อสายมอญในสมัยนั้น และมีชาวบ้านที่มาจากหมู่บ้านอื่นของ ต.พุดซา ในอดีต ต.พุดซา เป็นเพียงหมู่บ้านหนึ่งใน ต.พลกรัง ต่อมาได้แยกพื้นที่จาก ต.พลกรัง เป็น ต.พุดซา และเมื่อมีการแบ่งเขตพื้นที่ยกฐานะให้เป็น ต.พุดซา จึงมีการประชุมจัดตั้งนามสกุลโดยผู้บ้านในสมัยนั้น คือ นายพูน และคณะครูอาจารย์เป็นแกนนำ เพื่อให้นามสกุลมีความคล้ายคลึงกับชื่อของตำบลจึงได้ตั้งนามสกุล เช่น นาพุดซา ชาติพุดซา ฉายพุดซา คุ่มพุดซา เป็นต้น นามสกุลที่มีผู้ใช้มากที่สุด เป็นตระกูลใหญ่ที่สุดในหมู่บ้าน คือ นามสกุลชาติพุดซา และผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้านมะเดื่อ คือ นายสว่าง คำดี

ที่มาของชื่อหมู่บ้าน        

      ในอดีตมีหนองน้ำอยู่หน้าหมู่บ้าน และต้นมะเดื่อขนาดใหญ่อยู่กลางหมู่บ้าน จึงตั้งชื่อหมู่บ้านตามต้นไม้ แต่ปัจจุบันไม่ปรากฏต้นมะเดื่อให้เห็น สันนิษฐานได้ว่าน่าจะตายแล้ว

หัวเรื่อง

ชื่อบ้านนามเมือง นครราชสีมา

หมวดหมู่

ศาสนสถาน

คำสำคัญ

หมู่บ้าน

ข้อมูลการติดต่อ

ที่อยู่:ตำบลพุดซา อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000

รายการอ้างอิง

  1. กมลทิพย์ กสิภาร์ และพินิจ พิกุลนอก. (2554). ภูมินามและสัณฐานวิทยาพืชท้องถิ่น อ.เมือง นครราชสีมา. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. สุปราณี สวยขุนทด. (2544). การประเมินโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง : กรณีศึกษา กองทุนหมู่บ้านมะเดื่อ. นครราชสีมา: สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.