วัดปรางค์


รายละเอียด

ประวัติความเป็นมา

             ลักษณะของปรางค์ก่อด้วยอิฐ เหลืออยู่เพียงองค์เดียว กรมศิลปากรเข้ามาขุดแต่งเมื่อ พ.ศ. 2521 พบว่ามีรากฐานของปรางค์ซึ่งทำด้วยหินทรายอีก 2 องค์ รวมเป็นกลุ่มปรางค์ 3 องคื เรียงจากทิศเหนือ-ใต้ องค์ที่เห็นอยู่คือองค์ด้านทิศใต้ องค์ปรางค์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสย่อมุมไม้สิบสอง ส่วนบนเหนือเรือนธาตุเหลือชั้นหลังคาของเดิม 1 ชั้น เหนือขึ้นไปเป็นส่วนยอดทำใหม่โดยทำเป็นรูปกรวยสี่เหลี่ยมแบบเจดีย์ลาว ด้านข้างมีประตูเดียวหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ยังคงมีทับหลังหินทรายสลักเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณติดอยู่ ฝีมือละเอียด สวยงาม สภาพสมบูรณ์ ลักษณะรูปแบบทางศิลปะตรงกับศิลปะเขมรแบบปันทายสรี ซึ่งมีอายุราวต้นพุทธศตวรรษที่ 16 นอกจากนี้ภายในเรือนธาตุด้านทิศตะวันออกยังมีจิตรกรรมฝาผนังสมัยต้นรัตนโกสินทร์เหลืออยู่ที่พื้นด้านหน้าองค์ปรางค์มีทับหน้า 1 ชิ้น ภาพสลักลบเลือนเป็นภาพบุคคลนั่งชันเข่าเหนือรูปสัตว์ซึ่งไม่อาจบอกได้ชัดว่าเป็นช้างหรือวัว

การเดินทาง

             การเดินทางจากตัวเมืองไปถึงบ้านพุดซา โดยผ่านเข้าทางจอหอเลี้ยวซ้ายทางเข้าอำเภอโนนสูงประมาณ 5 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายอีกครั้งเข้าอำเภอขามทะเลสอในประมาณ 10 กิโลเมตรถึงบ้านพุดซา องคืปรางค์อยู่ภายในวัดปรางค์ทอง

หัวเรื่อง

ปราสาทหิน

ข้อมูลการติดต่อ

ที่อยู่:บ้านพุดซา ตำบลพุดซา อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000

รายการอ้างอิง

  1. วิทยาลัยครูนครราชสีมา. หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม.(2536).สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมจังหวัดนครราชสีมา.นครราชสีมา: วิทยาลัย.