ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาวัดนอกวิเวกไวยฤทธิ์


รายละเอียด

ประวัติความเป็นมา

    สร้างวัดเมื่อ ปี พ.ศ. 1600 สังกัดมหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ในปี พ.ศ. 1620 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ครั้งที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 1620 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 โดยมีการจัดงานผูกพัทธสีมา-ปิดทองฝังลูกนิมิต เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2533

รางวัลเกียรติยศ

- รางวัลชนะเลิศประกวดต้นเทียนประเภท ก.

1. พ.ศ. 2558 รางวัล อันดับ 1

2. พ.ศ. 2559 รางวัล อันดับ 1

3. พ.ศ. 2560 รางวัล อันดับ 2 ใช้ชื่อขบวนเทียนว่า น้อมเกล้าส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย บอกเล่าเรื่องของการเทิดพระเกียรติ และแสดงความอาลัยต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทั้งขบวนเทียนใช้เทียนน้ำหนักมากกว่า 10 ตัน ด้านหน้าขบวนเทียนเป็นเทียนแกะสลักพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงขึ้นครองราชย์ และด้านท้ายขบวนเทียนเป็นรูปพระบรมโกศ

4. พ.ศ. 2561 รางวัล อันดับ 2

- รางวัลชมเชย การประกวดขบวนแห่

1. พ.ศ. 2560 รางวัล อันดับ 1

2. พ.ศ. 2562 รางวัล อันดับ 4

3.1 ข้อมูลสรุป การแห่เทียนเข้าพรรษาประจำปี เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบเนื่องกันมาช้านานของจังหวัดนครราชสีมา ด้วยความร่วมมือช่วยเหลือของทางราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ตลอดจนพ่อค้า คหบดี ประชาชน ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งประเพณี ที่แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมท้องถิ่นโคราช เรียงร้อยสืบสานเรื่องราวดำเนินต่อกันมาจากโบราณจนถึงปัจจุบัน ด้วยพลังศรัทธาในพุทธศาสนา พุทธศาสนิกชนจึงร่วมมือกันหล่อหลอมต้นเทียนขึ้นมาถวายพระภิกษุสงฆ์ เพื่อใช้ในการปฏิบัติกิจวัตรตลอดระยะเวลา 3 เดือน จัดขึ้น ณ ศูนย์กลางของจังหวัดนครราชสีมา คือ หน้าศาลากลางจังหวัด ขบวนแห่เทียนพรรษาตั้งริ้วขบวนและแห่ไปตามถนนสำคัญหลายสาย ในตัวเมืองมารวมกันยังที่เดิม เพื่อรับการพิจารณาของคณะกรรมการจัดตั้งขึ้น ว่าเทียนเข้าพรรษาของวัดใดจะงดงามมีคติธรรมดี มีการตกแต่งเป็นเยี่ยมให้รับรางวัลที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๓ ตามลำดับ “วัดนอก” อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา เป็นอีกหนึ่งวัดที่เข้าร่วมขบวนแห่เทียนพรรษามาช้านาน และได้รับรางวัลชนะเลิศ ๓ ปีซ้อน(รวมปีล่าสุด ๒๕๖๐) คว้าถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปครอง “วัดนอก”ตั้งอยู่เลขที่ ๕๘ หมู่ ๔ ตำบลโชคชัย อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา สร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช ๑๖๐๐(ตามประวัติของกรมการศาสนา) 3.2 กระบวนการทำเทียนเพื่อการจัดทำขบวนแห่เทียนเข้าพรรษา การจัดทำขบวนแห่เทียนเข้าพรรษามีการตกแต่งประดับประดาเทียนเข้าพรรษาด้วยขี้ผึ้งล้วน ๆ บ้าง ด้วยเครื่องประดับอื่น ๆ บ้าง แล้วนำขึ้นตั้งบนล้อเลื่อนหรือรถยนต์ ประกอบด้วยเครื่องสูง มีพัดโบกจามร ฉัตร และภาพเทพบุตร เทพธิดาในสวรรค์ชั้นฟ้าเหาะลงมาเพื่อประคับประคองเทียนเข้าพรรษา มีคติธรรมต่างๆ ที่เป็นเรื่องราวชาดก หรือเป็นคำสอนด้วยภาพ ด้วยข้อความ และคำโฆษณาอันประทับใจผู้ได้พบเห็นและได้ฟังแทบทั้งสิ้น ซึ่งกว่าจะได้มาด้วยขบวนแห่เทียนพรรษาที่มีความงดงามตระการตาต้องใช้เวลาทำนานกว่า 3 เดือน ใช้คนทำมากกว่า 50 คน เมื่อถึงเดือนเมษายนของทุกปี ชาวบ้านที่ว่างจากการทำเกษตรหรืออาชีพหลักของตนก็จะมาร่วมด้วยช่วยกันทำเทียนเข้าพรรษาอยู่ตลอด ก่อนวันงานที่วัดจะมีการละเล่น มหรสพหลายประเภท ฉลองเทียนเข้าพรรษา อาทิ ภาพยนตร์ ลิเก ลำตัด เพลงโคราช ฯลฯ ๑ คืน รุ่งขึ้นวัดต่างๆ ที่จัดเทียนเข้าพรรษาเข้าขบวนแห่ ต่างก็จะนำเทียนมารวมยังจุดศูนย์กลาง คือ หน้าศาลากลางจังหวัด เมื่อพร้อมกันแล้วก็จะ ตั้งริ้วขบวนและแห่ไปตามถนนสำคัญหลายสาย ในตัวเมืองมารวมกันยังที่เดิม เพื่อรับการพิจารณาของคณะกรรมการจัดตั้งขึ้น ว่าเทียนเข้าพรรษาของวัดใดจะงดงามมีคติธรรมดี มีการตกแต่งเป็นเยี่ยมให้รับรางวัลที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๓ ตามลำดับ เทียนเข้าพรรษาที่เข้าขบวนแห่รองๆ ไป ก็มีรางวัลพิเศษให้ มีเงิน ข้าวสาร น้ำปลา น้ำมันก๊าส ตู้ยาตำราหลวง ใบชา ธูปเทียน ไม้ขีดไฟ และเครื่องใช้ไม้สอยอื่นๆ เป็นต้น เสร็จแล้ว ก็จะแยกขบวนกลับวัดของตน ทางราชการจะได้เชิญข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน เป็นผู้ถวายเทียนเข้าพรรษาตามวัดต่างๆ ต่อไป ขั้นตอนการทำเทียน ขั้นตอนและกระบวนการทำเทียนเข้าพรรษาชาวบ้านพิชิตคเชนทร์ได้สืบทอดต่อจากบรรพบุรุษสู่รุ่นลูกรุ่นหลานมาอย่างต่อเนื่อง ในเดือนเมษายนของทุกๆ ปี ท่านเจ้าอาวาส พระครูวิมลธรรมวุธและชาวบ้านจะร่วมใจกันทำขบวนแห่เทียนพรรษาเพื่อสืบสานประเพณีที่ดีงาม 1. เตรียมพื้นที่ การเตรียมบริเวณติดเทียนก็ต้องขึ้นโครงสร้างมีหลายวัสดุ เช่น ขึ้นโดยปั้นเทียน หล่อเทียน สร้างโครงเหล็กหุ้มโฟมแล้วตกแต่งเป็นรูปร่าง ใช้ผ้าหุ้ม ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ใช้แล้วติดกาวแปะคล้ายวิธีทำหน้ากากกระดาษ(เปเปอร์มาเช่) อย่างใดอย่างหนึ่งหรือผสมผสานกันก็ตามแต่ช่างเทียนจะถนัด แล้วโป๊ะเทียนเก่าให้ได้ขนาด 2. เตรียมลวดลาย ขั้นตอนนี้จะมีหลายขั้นตอนคือ -การทำแบบพิมพ์ มักเป็นดินเหนียว โฟมแกะลาย ปูนปลาสเตอร์ - หล่อแบบพิมพ์จะใช้ซิลิโคนทำแบบ - เทเทียนใส่ลงในแบบ - แกะเทียนออกจากซิลิโคน –ตกแต่งลวดลาย 3. นำลวดลายเทียนที่ได้มาติดกับพื้นที่เตรียมไว้ คือ ใช้ความร้อนจากลมร้อนและจากเหล็กร้อน(นำเหล็กเผาไฟ)เอาไปนาบติดเทียนให้ติดกัน และใช้เข็มหมุดปักติดลงไปในขณะที่เทียนอุ่นอยู่(ต้องใช้ลมร้อนจากไดร์เป้าใช้ชนิดเดียวกับช่างทำผมใช้กัน) 4. เทคนิคพิเศษที่ทางวัดนอกใช้คือ หลังจากนำลวดลายเทียนมาติดหรือแกะสลักเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะนำแว็กซ์มาทาเพื่อเพิ่มความเงางามให้กับเทียนพรรษา ลายเทียน มี 2 แบบ 1) ต้นเทียนพรรษาประเภทแกะสลัก - ลายกนก - ลายนารี - ลายกระบี - ลายคชะ 2) ต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ - ลายเอก - ลายโท - ลายเก็บงาน ต้นเทียนพรรษาประเภทแกะสลัก :: ลวดลายที่ใช้ประกอบในการทำเทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี ประเภทแกะสลักนั้นใช้ลวดลายไทยเป็นหลัก ที่นิยมคือ ลานกระจัง ลายประจำยาม ลายกนก ลายผักกรูด ลายกระจังตาอ้อย และมีลวดลายที่ได้แนวคิดจากสิ่งที่พบเห็นตามธรรมชาติ เช่น รวงข้าว เปลวไฟ กาบใบ ใบไม้ ฟันปลา ดอกไม้ และเครือเถาของพืชบางชนิด ลวดลายที่ได้จากลายไทย ช่างทำเทียนจะนำมาดัดแปลงเพื่อนำมาทำเป็นแม่พิมพ์ ลายพิมพ์หรือแกะลงบนลำต้น หรือฐานของต้นเทียน ลวดลายที่พบเห็นได้นั้นแบ่งออกเป็น 4 ลวดลาย ได้แก่ ลายกนก ลายกนกที่นิยมใช้ ได้แก่ กนกสามตัว กนกใบเทศ กนกเปลว เป็นต้น ลักษณะของลายกนกจะเขียนรูปแบบเดียวกัน แต่จะมีการแบ่งตัวเขียนแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับความสามารถของช่าง หรือผู้ออกแบบลาย ลายกนกที่พบเห็นได้บนต้นเทียน ได้แก่ กนกสามตัว กนกเปลว กนกใบเทศ กนกเทศหางโต ลายนารี ลายนารี คือลายภาพคนหรือภาพมนุษย์ ภาพเทวดา หรือภาพนางฟ้า ในการเขียนภาพนั้นจะมีทั้งภาพพระและภาพนางเป็นหลัก โดยมีการแบ่งแยกความสำคัญตามลักษณะพิเศษเฉพาะของตัวเรื่อง เช่น การแต่งกาย เครื่องประดับ ท่าทาง หรืออาวุธ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถบอกฐานะ และตำแหน่งความสำคัญของตัวละครเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี ลายกระบี่ เป็นภาพที่กล่าวถึงวานร หรือภาพอมนุษย์ ซึ่งรวมถึงภาพอสูรพงศ์ หรือ พานรพงศ์ ซึ่งภาพเหล่านี้ส่วนมากจะอยู่ในเรื่องรามเกียรติ์ การสร้างภาพเหล่านี้มักเริ่มต้นจากเค้าโครงของใบหน้าก่อนแล้วตามด้วยส่วนที่ลายละเอียดที่บ่งบอกอารมณ์ควมรู้สึก เช่น ตาเบิกโพรง ปากแสยะ ตาหรี่ ปากเม้ม หรือตาพองโต เป็นต้น บางตนมีลักษณะโครงสร้างเหมือนมนุษย์ เช่น ใบหู หรือ ปาก มีอาวุธที่แตกต่างกันออกไป เช่น ครุฑ ดาบ กระบี่ เป็นต้น ลายคชะ หมายถึง ลวดลายของสัตว์ต่าง ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่เกิดขึ้นจากจินตนาการ หรือเป็นสัตว์จากหิมพานต์ ดังนั้น สัตว์เหล่านี้จึงไม่มีตัวตนที่แน่นอน มีลักษณะผิดเพี้ยนไปจากธรรมชาติ บางครั้งอาจจะเป็นลักษณะของมนุษย์และสัตว์ หรือสัตว์มาผสมผสานกัน เช่น ส่วนหัวเป็นยักษ์มีส่วนล่างเป็นช้าง หรือส่วนบนเป็นมนุษย์และส่วนล่างเป็นสิงห์ เป็นต้น ต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ :: ลายที่นำมาติดที่ต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์จะมีลักษณะที่แตกต่างกันในขบวนต้นเทียนหนึ่งขบวนจะมีลายหลายแบบและมีขนาดที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นที่และรูปแบบของต้นเทียน ถ้าเป็นต้นเหลี่ยมก็จะแกะสลักลายให้มีขนาดเท่ากับเหลี่ยมของต้นเทียน แต่ถ้าเป็นต้นกลมก็จะแกะสลักให้ลงตัว เมื่อติดโดยรอบแล้วจะลงตัวพอดี ลายต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์จะมี 3 ลักษณะ คือ 1.ลายเอก หมายถึง ลายเด่นของต้นเทียนที่เป็นหลักส่วนมากจะเป็นลายก้านขดลักษณะต่าง ๆ เช่น ก้านขดหางไหล ก้านขดกนกหางโต ก้านขดหน้าสิงห์ ก้านขดเทพนม เป็นต้น 2.ลายโท(ลายประกอบ) หมายถึง ลายที่สร้างขึ้นขึ้นเพื่อรองรับกับลายเอกมีลักษณะเด่นรองลงมาจากลายเอก หรือเมื่อนำไปติดบางส่วนของขบวนต้นเทียนก็จะกลายเป็นลายเอกได้ เช่น ลายกนกเกลียว ใบเทศเกลียว พุ่มหางกนก ลายกระจัง ลายปีกผีเสื้อ ลายประจำยามก้ามปู ลายกระจังหลักร้อย ลายประจำยาม ลายพวงมาลัยย้อย เป็นต้น 3.ลายเก็บงาน เป็นลายที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เก็บงานหรือส่งลายเอกให้เด่นขึ้น เช่น ลายกระจังฟันปลา ลายตาอ้อยซ้อน(ลายกระดูกงู) ลายตาตุ่ม ลายมะลิซ้อน ลายประกอบเก็บงานจะเป็นลายเส้นยาวใช้ในการเก็บรายละเอียดของลายให้วิจิตรสวยงามยิ่งขึ้น แนวคิดในการออกแบบลายเทียน พระครูวิมลธรรมวุธ(เจ้าอาวาส)ท่านเป็นคนคิดและออกแบบแนวคิดทั้งหมดของขบวนแห่งเทียนพรรษา ในแต่ละปีท่านจะนำเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา คติธรรมต่างๆ ที่เป็นเรื่องราวชาดก มาบอกเล่าผ่านตัวละครเทพบุตรเทพธิดาในขบวนแห่เทียนพรรษาซึ่งจะทำให้ดูมีเรื่องราวน่าค้นหา และปีล่าสุดที่คว้ารางวัลนะเลิศ ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปครอง ด้วยแนวคิด “น้อมเสด็จสู่สวรรคาลัย” บรรณานุกรม ASTVผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2561, http://www.manager.co.th/local/viewnews.aspx?NewsID=9580000086659 เทศบาลตำบลโชคชัย.สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2561, จากวิกิพีเดีย https://th.wikipedia.org/wiki/เทศบาลตำบลโชคชัย งานข้อมูลท้องถิ่น สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี .สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2561, http://www.lib.ubu.ac.th/learning/candle/pattern.php TNEWS TV ONLINE.สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2561, http://www.tnews.co.th/contents/335492 ศิลปกร พิยะโรจน์.สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2561, http://silpakorn-kru.blogspot.com/2016/07/blog-post.html

หัวเรื่อง

ประเพณีแห่เทียนพรรษาโคราช

หมวดหมู่

ศาสนสถาน

ข้อมูลการติดต่อ

ที่อยู่:58 หมู่ที่ 4 ตำบลโชคชัย อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา 30190

รายการอ้างอิง

  1. (2561). ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาวัดนอก. นครราชสีมา: สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. ขบวนต้นเทียน “วัดนอก”โคราชล้มแชมป์ 10 สมัย คว้าถ้วยพระราชทาน“สมเด็จพระเทพฯ”. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2561. จาก https://mgronline.com/local/detail/9580000086659