นายกำปั่น นิธิวรไพบูลย์ (กำปั่น บ้านแท่น)


รายละเอียด

นายกำปั่น นิธิวรไพบูลย์ (กำปั่น บ้านแท่น)

ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564 สาขาศิลปะการแสดง (เพลงโคราช) 

ประวัติ เกิดเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2494 ณ บ้านแท่น ต.โพนทอง อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา

บิดา นายดี ข่อยนอก มารดา นางเพียร ข่อยนอก มีพี่น้อง ร่วมบิดา-มารดา จำนวน 4 คน คือ

1. นายดัด ข่อยนอก 

2. นางห่าม ข่อยนอก

3. นางบุญนาค ข่อยนอก

4. นายแสวง ข่อยนอก

การศึกษา

- พ.ศ. 2505 ระดับประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนบ้านเสว ต.โนนประดู่ อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา

- พ.ศ. 2505 บรรพชาเป็นสามเณร โดยมีท่านเจ้าคุณพระปทุมญาณมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ ช่วงบวชเณร สามเณรกำปั่นมีชื่อเสียงโด่งดังในการเทศน์แหล่เสียง เทศน์แหล่ออกทางวิทยุ เทศน์คาถาพัน นับว่าเป็นสามเณรที่เรียนเก่ง เทศน์เก่ง สวดคาถาพันเก่ง

- พ.ศ. 2509 ระดับประถมปีที่ 6 ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอโชคชัย จ.นครราชสีมา

- พ.ศ. 2513 นักธรรมชั้นเอก เปรียญธรรม 3 ประโยค วัดบัวใหญ่ ต.บัวใหญ่ อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา

- พ.ศ. 2549-2554 การศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 6 มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย จากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา

- พ.ศ. 2546 ได้รับพระราชทานปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

- ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัย World Peace Academy Cyberu Pakistan

การศึกษาศิลปะการแสดงเพลงพื้นบ้าน (เพลงโคราช)

- พ.ศ. 2519 เริ่มต้นศึกษาเพลงโคราชกับครูดัด บ้านแท่น ที่บ้านมาบกราด ต.โคกกระชาย อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา

- พ.ศ. 2521 เรียนร้องเพลงโคราชกับครูลพ บ้านแท่น ที่บ้านแท่น ต.โพนทอง อ.บัวใหญ่ (ปัจจุบันเป็น อ. สีดา) จ.นครราชสีมา

- พ.ศ. 2522 เรียนรู้เพลงโคราชกับครูยอดชาย บ้านหนองน้ำขุ่น อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ ได้ทำพิธีไหว้ครู รับครูยอดชาย เป็นครูและครูยอดชายรับกำปั่นเป็นลูกศิษย์ เมื่อเห็นว่าพอออกรับงานแสดงได้ จึงขออนุญาตลาครู โดยได้มาสังกัดคณะหัวหนองบัว มีจ่าจเร เป็นหัวหน้าคณะ อยู่ได้ประมาณ 1 ปี ยังไม่ได้ออกงานแสดงจริง ได้เป็นเพียงหมอเพลงผู้ช่วย จึงขอลาออก

- พ.ศ. 2524 เรียนรู้เพลงโคราชกับครูลอยชาย แพรกกระโทก เป็นหัวหน้าคณะ ชื่อสำนักงานเพลงโคราชเกาะลอย ถนนสุรนารายณ์ ต.ในเมือง อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา คณะนี้มีหมอเพลงโด่งดังประจำหลายคน เพราะเล่นเพลงโคราชมาก่อนหลายปีจนมีชื่อเสียง อาทิเช่น

- หวานน้อย หนองบุญนาค

- นายทองแดง

- นางรอง

- นายสม ดอนแต้ว

- นายใหญ่ พะไล

ฝ่ายหญิงก็มี เช่น

- กาเหว่า โชคชัย คู่ชีวิตในปัจจุบัน โดยในวันที่ไปสมัครอยู่กับคณะเกาะลอย อาจารย์ลอยชายเห็นก็รับทันที และให้ไปร้องออกอากาศสถานีวิทยุ วปถ. 3 เพราะเป็นวันเสาร์ และได้ร้องเพลงเกี้ยวกับนางกาเหว่า โชคชัย เป็นคนแรก เมื่อกลับมาจากออกวิทยุแกก็รับงานให้ ไปแสดงงานแรก คือ วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2522 ถึง 2523 อยู่ในระยะปีนี้ ที่บ้านลำพระเพลิง อ.ปักธงชัย และได้เริ่มเล่นเป็นหมอเพลงโคราชประจำคณะเกาะลอย ตั้งแต่ พ.ศ. 2522 เป็นต้นมาจนกระทั่งหัวหน้าคณะครูลอยชายเสียชีวิต ในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2525 เมื่อคณะเกาะลอยล้มลง กำปั่นจึงย้ายมาสังกัดคณะหวานน้อย หนองบุญนาค ซึ่งเดิมก็เป็นลูกศิษย์อาจารย์ลอยชายเช่นกัน เมื่อสิ้นบุญของครูหวานน้อยจึงมาตั้งคณะใหม่เป็นตัวของตัวเอง ที่หน้าวัดหัวสะพานประตูผี โดยมีกาเหว่า โชคชัยติดตามมาด้วยในฐานะเป็นน้องภรรยาหวานน้อยตั้งคณะอยู่ที่นี้ 2 ปี คณะเกาะลอยที่มีแม่ดำภรรยาหม้ายครูลอยชายบริหารอยู่ โดยมีกำปั่น อยู่เป็นหมอเพลงในสังกัดที่เหลือเพียงคนเดียว ตั้งอยู่มา 2 ปี ก็ล้ม กำปั่น จึงได้ติดตามมาอยู่กับคณะหวานน้อย จนเป็นเหตุให้ได้ใกล้ชิดกับน้องสาวหวานภรรยาหัวหน้าคณะ คือ นางกาเหว่า โชคชัย ซึ่งเคยไปออกรายการวิทยุครั้งแรก ได้ออกแสดงงานเป็นงานแรก ได้ร้องเพลงโคราชเกี้ยวกับนางกาเหว่า โชคชัย เป็นคนแรก กลอนแรก พร้อมทั้งได้แต่งงานกัน ในปี พ.ศ. 2529 อยู่กินเป็นคู่ทุกข์คู่ยากจนถึงปัจจุบัน

- พ.ศ. 2529- ปัจจุบันประกอบอาชีพเป็นหมอเพลงโคราช โดยตั้งคณะเพลงโคราชชื่อว่า เพลงโคราชคณะกำปั่น บ้านแท่น กาเหว่า โชคชัย

- พ.ศ. 2549 ระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา

- พ.ศ. 2550 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม. 3) ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา

- พ.ศ. 2551 ระดับมัธยมตอนปลาย (ม. 6) ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา  

ภรรยา นางทวาย เกริ่นกระโทก (กาเหว่า โชคชัย) มีบุตร 3 คน

- นางสาวชนัญญา ข่อยนอก

- นางสาวฐิติมา ข่อยนอก

- นางสาวเทพลักษณา ข่อยนอก

ผลงาน

     คณะเพลงโคราชกำปั่น บ้านแท่นได้ถูกก่อตั้งขึ้นใหม่ ภายใต้การบริหารจัดการของกำปั่น บ้านแท่น และกาเหว่า โชคชัย มีแนวทางการดำเนินงาน แบบมุ่งหวังในทางพัฒนารูปแบบใหม่ ทั้งรูปแบบการแสดง เนื้อหาของกลอนเพลง ปรับปรุงแก้ไขสิ่งที่ไม่ดีจัดหากลอนเพลงต่าง ๆ โดยการแต่งขึ้นมาใหม่ จากของเก่าที่เป็นของครูเพลง นำเสนอแฟนเพลงและเจ้าภาพ จากดนตรีทางกายวิภาค มาเป็นดนตรีอิเลคโทน มีนักดนตรี มีหางเครื่อง เป็นการผสานเพลงโคราชผสมอิเลคโทน นับเป็นจุดเริ่มต้นเพลงโคราชซิ่ง 

- จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ศูนย์การเรียนรู้เพลงโคราช เก็บรวมรวมกลอนเพลงไว้ในแหล่งเก็บข้อมูลเพื่ออนุรักษ์และสืบทอดอย่างเป็นระบบ 

- จัดตั้งกองทุนสวัสดิการช่วยเหลือศิลปินยากไร้ เจ็บ และตาย

- ส่งเสริมให้มีการผลิตสื่อเพื่อการเรียนการสอนเพลงโคราช

- ผู้ดำเนินรายการวิทยุและโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมการเผยแพร่เพลงโคราช ศิลปวัฒนธรรมด้านเพลงพื้นบ้าน และพระพุทธศาสนา

- ประพันธ์เพลงโคราช มีทั้งเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดนครราชสีมา ผู้คนที่ทำคุณประโยชน์ให้จังหวัดนครราชสีมา พุทธประวัติ การส่งเสริมการท่องเที่ยว การต่อต้านยาเสพติด และการทุจริต เป็นต้น

- เผยแพร่ความรู้ด้านเพลงโคราชให้แก่ นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป

- อาจารย์ที่ปรึกษาในฐานะครูเพลงโคราช แก่บัณฑิตผู้ที่ทำวิจัยเกี่ยวกับเพลงโคราช และภาษาโคราช

- วิทยากรพิเศษกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน

- วิทยากรฝึกสอนในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ได้สืบสานการเล่นเพลง ประดิษฐ์สร้างสรรค์การเล่นเพลงโคราชให้เข้ากับยุคสมัย สร้างสรรค์ทำนองใหม่ จังหวะใหม่ และนำไปเผยแพร่จนเพลงโคราชเป็นที่รู้จักในวงกว้าง

- สร้างที่เก็บน้ำฝนถวายวัดเขาแก้ว อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา มูลค่า 50,000 บาท

- สร้างเสาศาลาการเปรียญวัดบ้านแท่น

- เสาวิหารหลวงปู่โตวัดโนนกุ่ม

- สร้างกำแพงวัดป่าคลองขุนเทียน ซื้อตู้เย็นถวาย 5 วัด จำนวน 5 ตู้

- จัดซื้อกลองยักษ์ถวายวัดบ้านโจด 1 ใบ

- จัดกองผ้าป่าไปทอดตามวัดต่างๆ ทุกปีไม่ขาด

- ประธานชมรมเพลงโคราช 2 ปี

- ที่ปรึกษาสมาคมเพลงโคราช

- อนุกรรมการวิทยุชุมชนของคนโคราช

- กรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดนคราชสีมา

- กรรมการโครงการส่งเสริมสนับสนุนเพื่อสุขภาพ (ส.ส.ส.)

- อาจารย์พิเศษร่างหลักสูตรการเรียนการสอนเพลงโคราชร่วมกับวิทยาลัยนาฏศิลป์

- พ.ศ. 2539- ปัจจุบัน ครูสอนพิเศษให้กับวิทยาลัยนาฏศิลป์นครราชสีมา

การประพันธ์เพลงโคราช

- ประพันธ์เพลงโคราชประวัติหลวงพ่อคูณ 100 กลอน

- เพลงเรื่องมหาเวสสันดรโรงใหญ่ 300 กลอน

- เพลงเรื่องยาเสพติด อนุรักษ์ธรรมชาติ 150 กลอน

- เพลงเรื่องมนุษย์โลกล้านปี

- เพลงเรื่องต่อต้านการซื้อสิทธิขายเสียงให้ ก.ก.ต. จังหวัด

- เพลงเรื่องป้องกันโรคติดต่อ 8 ชนิดให้สาธารณะสุขจังหวัด

- เพลงเรื่องเชิญชวนท่องเที่ยวภาคอีสาน 19 จังหวัด

- เพลงเรื่องท้าวเจ็ดคะนน สุภมิตร+เกศสินี ปราจิต+อรพิม อินทปัฐถาให้กับนายบุญส่ง ครูศรี เพื่อทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโท

- เพลงที่ใช้แสดงในงานต่าง ๆ อีกมากมายให้กับลูกศิษย์ ซึ่งมาเรียนเพลงโคราช และจบวิชาสามารถออกไปประกอบอาชีพได้ 50 คน (ซึ่งมีอยู่ในสมุดทำเนียบ)

การประพันธ์แหล่

     ได้ประพันธ์แหล่ไว้อย่างมากมาย พร้อมทั้งไปขับร้องตามวาระต่าง ๆ ซึ่งได้ทำการพิมพ์บันทึกไว้ในหนังสือเล่มนี้

เพลงโคราชประยุกต์

- ประพันธ์เพลงโคราชซิ่ง เพลงลูกทุ่งภาษาโคราช เพลงลูกทุ่ง 300 เพลง (ซึ่งพิมพ์บันทึกไว้ในหนังสือเล่มนี้)

ผลงานการผลิต

- ผลิตเทปคาสเซทเพลงโคราชซิ่ง เช่น 

     - 6 เมษายน พ.ศ. 2562 โคราชซิ่ง กำปั่น บ้านแท่น ชุด ซิ่งระเบิดโลก จำนวน 12 เพลง

1. สังขารไม่เที่ยง 2. อัศจรรย์ 3. เมียไม่ให้ถอน 4. เมียเสือ 5. ลูกคนมีบุญ 6. โคราชซิ่ง 7. ซิ่งเฒ่า ๆ 8. เลิกเหล้าเพราะเมีย เลิกเบียร์เพราะลูก 9. ควายมีบุญ 10 คนกระโทก 11. ฝนแล้ง 12. นางแมวขอฝน

     - สิงหาคม พ.ศ. 2562 กำปั่น บ้านแท่น ชุด เมียกับหมา จำนวน 12 เพลง

1. เมียกับหมา 2. อยากได้ยาดี 3. หนุ่มโรงเทียนสาวโรงธูป 4. นักร้องไมค์หอน 5. เดินป่าหารัก 6. จับอึ่ง 7. พอดี 8. ทำนาปรังมีแตซังกับหนี้ 9. ศิลปินสี่เสา 10. ดังป๊าบป๊าบ 11. ไอ้หนุ่มไทยเบิ่ง 12. ลูกเขยย่าโม

- ผลิต ซีดี วีซีดี คาราโอเกะ

- พ.ศ. 2544 หลักสูตรคู่มือการเรียนการสอนเพลงโคราช 

- เขียนหนังสือเรื่องสั้นลงใน วารสาร เวลคัมทู โคราช ให้กับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น

เรื่องสั้น 

- เรื่องสั้น นางแมวขอฝน

- ความฝันของเด็กบ้านนอก

- ไอ้สมิงแห่งคลองหินลับ ตอนที่ 1-2-3

- พระผงกำแพงโลหิต

- ไอ้โกรด

- เปาปุ้นจิ้นบ้านนอก ตอนที่ 1-2

- กิโลเมตรที่ 73

- แม่ไม้เพลงโคราช

- เขียนตำราคู่มือการชี้และวัดเกณฑ์ความเป็นมาตรฐานของเพลงโคราช 

- ผลิตเทปอัลบั้ม สุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืน ให้สาธารณะสุขจังหวัดนครราชสีมา

- ผลิตเทปชุด เที่ยวสูงเนิน ให้กับสภาวัฒนธรรมอำเภอสูงเนิน

- ผลิตเพลงชุด อาลัยน้าชาติ เพื่ออาลัยในการจากไปของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัน

- ผลิตเพลงชุดหาเสียงให้กับ นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์

- ผลิตเพลงชุดหาเสียงให้กับ นายประเสริฐ จันทร์รวงทอง

- ผลิตเพลงประจำตัวให้นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ

- ผลิตเพลงประจำตัวให้นายกร ทัพพะรังสี

- ผลิตเพลงประจำตัวนักการเมือง เช่น นายประทีป กรีฑาเวช นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก นายวัณรัตน์ ชาญนุกุล ดอกเตอร์ประวิช รัตนเพียร นายสุชาติ สีสัง นายวินัย จุลพงศธร นายพงศกร อรรณนพพร พลตำรวจตรีวุฒิ สุโกศล นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ นายพงศ์พิศ รุ่งเป้า 

- เพลงวิทยุชุมชนคนโคราช

- เพลงชุดคนแม่ มูน

- เพลงห้างไต้ฟ้า

- เพลงห้างเตียหงี่เฮียง

- เพลงเพียบพร้อม

- เพลงลำตะคองให้กลุ่มรักลำตะคอง

- เพลงกองทุนซิฟ

- เพลงมาร์ช ของสมาคมส่งเสริมกีฬานครราชสีมา

รางวัลเกียรติยศ

รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ถึง สองปีซ้อน จากการจัดของมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

- 2 มิถุนายน พ.ศ. 2542 เข็มเชิดชูเกียรติจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

- พ.ศ. 2542-2543 ประกาศเกียรติคุณและโล่รางวัลสื่อพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือยอดเยี่ยม จากศูนย์ประสานงานเพื่อเยาวชนแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี มอบให้โดย ฯพณฯ ท่าน ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีขณะนั้น

- พ.ศ. 2543 เป็นผู้นำการแสดงแสงสีเสียง สื่อผสมสัญจร ธ.สถิตในดวงใจของชาวไทยทั่วหล้า

- ร้องแหล่กลอนสด ต่อหน้าอดีตนายกรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย ที่โรงแรมสีมาธานี ได้รับการยกย่องชมเชย

- ร้องแหล่กลอนสด ต่อหน้าอดีตนายกรัฐมนตรีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ที่สโมสรร่วมเริงชัยนครราชสีมา จนได้รับการยกย่องชมเชย

- แข่งขันหมอลำซิ่งอีสาน 95 คณะ ได้รองชนะเลิศอันดับที่ 1 ทั้งที่ได้เป็นเพลงโคราช แต่สามารถชนะหมอลำได้

- เพลงโคราชประวัติหลวงพ่อคูณ

- ได้รับการไว้วางใจจากหน่วยงานของรัฐ ให้ผลิตสื่อแนวเพลงพื้นบ้านมากมาย อาทิ กรมการการเลือกตั้ง สาธารณะสุขจังหวัด วิทยุชุมชน. เทศบาล. องค์การบริหารส่วนจังหวัด. ผู้แทนราษฎร สถาบันการศึกษาหลายแห่ง

- รองชนะเลิศอันดับที่ 1 และรางวัลถ้วยเกียรติยศและเงินสด จากนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ในการประกวดมหกรรมหมอลำซิ่ง 19 จังหวัดในภาคอีสาน 

- พ.ศ. 2543-2544 รางวัลศิลปินพื้นบ้านดีเด่นของจังหวัดนครราชสีมา 2 ปีซ้อน

- พ.ศ. 2545 การแสดงเพลงโคราชถวายต่อหน้าพระที่นั่ง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีฯ ณ โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

- 23 มีนาคม 2546 แหล่ต้อนรับนายกทักษิณ ชินวัตร ที่ลานย่าโม จ.นครราชสีมา เมื่อมอบธงให้กับนายอำเภอที่ชนะยาบ้า

- 27 เมษายน 2546 แหล่ และร้องเพลงต้อนรับศิลปินแห่งชาติ และศิลปินสำคัญในประเทศที่มีชื่อเสียง 65 คน ที่โรงแรมสีมาธานี ในโครงการสร้างสรรค์งานศิลป์ถิ่นย่าโม

- พ.ศ. 2546 ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

- พ.ศ. 2557 ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาสถาบันศึกษาสันติภาพโลก มหาวิทยาลัย World Peace Academy Cyberu ปากีสถาน

- พ.ศ. 2561 รางวัลพระธาตุนาดูนทองคำ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประเภทบุคคลดีเด่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สาขาทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

- พ.ศ. 2564 ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงโคราช)

หัวเรื่อง

บุคคลสำคัญ

หมวดหมู่

บุคคล

คำสำคัญ

เพลงโคราช, เพลงพื้นเมืองไทย, ภูมิปัญญา, ภูมิปัญญาไทย, ศิลปินพื้นบ้าน, ศิลปินแห่งชาติ

ข้อมูลการติดต่อ

ที่อยู่:336 สามแยกวัดหัวสะพาน ถนนจิระ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000
โทรศัพท์:ติดต่องานแสดง 0 4426 4467, 08 1876 2164, 08 6244 5778

รายการอ้างอิง

  1. โคราชในอดีต: บุคคลที่มีชื่อเสียง ในโคราช. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2565, จาก https://www.facebook.com/korat.in.the.past/posts/1756081834460574
  2. หอเกียรติยศมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2565, จาก http://www.web.msu.ac.th/ssystem/halloffame/SDetail.php?hid=8148