โกสน


รายละเอียด

ชื่อวิทยาศาสตร์  Codiaeum Variegatum

วงศ์  EUPHORBIACEAE

ถิ่นกำเนิด  อินเดียตอนใต้ ศรีลังกา

ลักษณะวิสัย  เป็นไม้พุ่มไม่ผลัดใบขนาดกลาง สูงได้ถึง 2-3 เมตร

ใบ  เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ กว้าง 0.5-8 เซนติเมตร ยาว 5-30 เซนติเมตร มีหลายรูปแบบ เช่น รูปกลม แคบยาว บิดเป็นเกลียว ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบสอบ ขอบใบเรียบหรือหยัก แผ่นใบมีสีต่าง ๆ เช่น เหลือง ส้ม ชมพู

ดอก  สีขาว ออกเป็นช่อแบบกระจายตามซอกใบและปลายกิ่ง ยาว 8-30 เซนติเมตร ช่อดอกมีดอกประมาณ 30-60 ดอก กลีบเลี้ยงขนาดเล็กมี 3-6 กลีบ กลีบดอก 5-6 กลีบ ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ช่อดอกเพศผู้โค้งลง ช่อดอกเพศเมียตั้งตรง ออกดอกตลอดปี

ผล  แบบแห้งแตกทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 9 มิลลิเมตร ภายในมีเมล็ดสีน้ำตาล 2-3 เมล็ด เส้นผ่านศูนย์กลาง 6 มิลลิเมตร

แสงแดด  แดดจัด

อุณหภูมิ  18-24 องศาเซลเซียส

ความชื้น  ต้องการความชื้นสูง

น้ำ  ต้องการน้ำมาก

การดูแล  ต้องการแสงสว่างมาก จึงควรตั้งวางไว้ใกล้หน้าต่างหรือที่มีแสงสว่างพอเพียง เป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก วันละ 1 ครั้ง ต้องการความชื้นสูง ถ้าอากาศแห้งควรฉีดพ่นละอองน้ำที่ใบ ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกโรยรอบ ๆ โคนต้น หรือละลายรดน้ำเดือนละครั้ง เปลี่ยนกระถางทุกปี

การปลูก  ขยายพันธุ์โดยการตอน ปักชำ หรือเพาะเมล็ด ควรเปลี่ยนกระถางทุกปี

การขยายพันธุ์  ขยายพันธุ์โดยการตอน ปักชำ

อัตราการคายความชื้น  ปานกลาง

อัตราการดูดสารพิษ  น้อย

หัวเรื่อง

พฤกษาพรรณบรรณสาร : ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

หมวดหมู่

เกษตรกรรม

คำสำคัญ

ไม้ประดับ, พืชกับภูมิอากาศ, พืชลดมลพิษ, ไม้มงคล

ข้อมูลการติดต่อ

ที่อยู่:ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000

รายการอ้างอิง

  1. ไม้ประดับดูดสารพิษ โกสน. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2563, จาก https://www.panmai.com/Pollution/Pollution_47.shtml
  2. เอื้อมพร วีสมหมาย และทยา เจนจิตติกุล. (2544). พฤกษาพัน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ เอช.เอน กรุ๊ป.