วัดบูรพ์


รายละเอียด

ประวัติความเป็นมา

    ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2224 สังกัดมหานิกาย วัดหลวงเก่าแก่ในเขตกำแพงเมืองทางด้านทิศตะวันออก หรือ ทิศบูรพา จึงชื่่อว่า วัดบูรพ์ สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ปี พ.ศ. 2224 พร้อมกับการสร้างเมืองนครราชสีมา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2554

ลักษณะวัด พัทธสีมา

ประเภทวัด วัดราษฎร์

อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย อุโบสถ หอฉัน ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ หอระฆัง ศาลาบำเพ็ญกุศล และฌาปณสถาน

การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ

1. พระอรรถจารีสีมาจารย์ พ.ศ. 2472-2482

2. พระณรงค์ ญาณวโร พ.ศ. 2482-2494

3. พระครูรัตนาภิธาร พ.ศ. 2495-2496

4. พระมหาแสง สุกฺกโร พ.ศ. 2596-2499

5. พระครูอรรถโกวิท พ.ศ. 2499-2530

6. พระครูปริยัติบูรพากร พ.ศ. 2531

7. พระครูวรปัญญาคม (ทองพูล จกฺกวโร) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

สิ่งที่น่าสนใจ

- โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม-แผนกบาลี-แผนกสามัญ

- กุฏิน้อย หรือ เรือนไทยโคราช เป็นสถาปัตยกรรมที่มีความสมบูรณ์ ในเรือนครัว ยังมีเตาเชิงกราน ซึ่งหาดูที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว

- จิตรกรรมบนแผ่นสังกะสี ติดที่ศาลาการเปรียญ โดยช่างเขียนได้เขียนลงบนแผ่นสังกะสีหลายแผ่นแล้วนำมาปะติดต่อกันจนเป็นเรื่องราว เกี่ยวกับพุทธประวัติ พระมาลัย พระอดีตพุทธเจ้า สวรรค์ นรก พญากาเผือก และภาพวิถีชีวิตของชาวบ้าน

- สมุดไทยวัดบูรพ์ ที่ได้รับขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุ หรือ ศิลปวัตถุ เนื่องจากมีคุณค่าทางศิลปะ ฝีมือช่างยุครัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2339 มีสภาพสมบูรณ์ จำนวน 14 เล่ม และมี 3 เล่ม ที่มีภาพเขียน ประกอบเรื่องราว ทศชาติชาดก ลักษณะภาพมีความสวยงาม วิจิตร ได้สัดส่วน สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นช่างหลวง

- อุโบสถ รูปทรงสี่เหลี่ยมสร้างด้วยอิฐถือปูนขนาด 6 ห้อง มีการปฏิสังขรณ์มาแล้วหลายครั้ง ทำให้ส่วนฐานลักษณะแอ่นกลางหายไป คันทวยหรือไม้ค้ำยันเปลี่ยนจากไม้เป็นปูนหล่อขนาดเล็กและสั้น ฝีมือค่อนข้างหยาบ ของเดิมที่เป็นไม้มีลักษณะเป็นนาคแกะสลักลาย ด้านหลังมี เจดีย์พระสัมพุทธเจดีย์ศรีบุรพสถิตย์สีทอง กำแพงแก้วและฐานไพทีสูง 1.50 เมตร จึงทำให้อุโบสถดูเด่นเป็นสง่า

- โครงการวัดสะอาด โคราชไร้ขยะ ตามแนวประชารัฐ ประจำปี 2560

หัวเรื่อง

วัดในจังหวัดนครราชสีมา

หมวดหมู่

ศาสนสถาน

คำสำคัญ

วัด

ข้อมูลการติดต่อ

ที่อยู่:730 ถนนจอมพล ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000
โทรศัพท์:เจ้าอาวาส พระครูวรปัญญาคม 08 1955 0458

รายการอ้างอิง

  1. กระทรวงศึกษาธิการ. กรมการศาสนา. (2542). ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 17. กรุงเทพฯ: กระทรวง. สถาบันราชภัฏนครราชสีมา. ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม. ของดีโคราช เล่มที่ 2 สาขาศิลปะและภาษา. นครราชสีมา: สถาบัน.