วัดหงษาราม


รายละเอียด

ประวัติความเป็นมา

    ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2374 สังกัดมหานิกาย ได้รับพระรับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2542 เดิมชื่อว่า "วัดสระจาน" ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็น "วัดหงษ์" เนื่องจากมีเสาไม้โบราณแกะสลักเป็นรูปหงษ์เป็นสัญลักษณ์ ตั้งอยู่บริเวณขอบสระน้ำ 1 ต้น เมื่อมีการสร้างวัดจึงใช้สัญลักษณ์นั้นเป็นชื่อวัด โดยมีนายถัง และนางบุญมา เป็นผู้บริจาคที่ดินในการสร้างวัด พร้อมชาวบ้านหัวทะเลได้จัดสร้างวัดขึ้น ต่อมา พระครูสิริปัญญาทร เจ้าอาวาสวัดรูปที่ 7 ได้ขอเปลี่ยนชื่อวัดใหม่ว่า "วัดหงษาราม" จนถึงปัจจุบัน

ลักษณะวัด พัทธสีมา

ประเภทวัด วัดราษฎร์

อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย อุโบสถ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก มีสัญลักษณ์รูปหงส์อยู่บนหลังคา สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2441 พระประธาน สูง 3 ศอก ฐานสิงห์ นั่งสมาธิราบชาวบ้านตั้งชื่อว่า หลวงพ่อหงส์ทอง ชาวบ้านหัวทะเลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเคารพนับถือและเป็นพระที่มีความศักดิ์สิทธิ์มาก ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเมื่อ พ.ศ. 2535 วิหาร ศาลาเอนกประสงค์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2505 ศาลาการเปรียญ ศาลาหอฉัน หอกลอง-ระฆัง กุฏิสงฆ์ ศาลาบำเพ็ญกุศล และฌาปนสถาน

การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ

1. พระผึ้ง

2. หลวงตาสร้อย

3. หลวงตาโฮน

4. หลวงตาตูม

5. พระอาจารย์บุญมา

6. พระอาจารย์พรม

7. พระครูสิริปัญญาทร พ.ศ. 2502-2530

8. พระมหาทองล้วน

9. พระครูสุตถิรธรรม ถิรธมฺโม (ประทีป) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

สิ่งที่น่าสนใจ

- ห้องสมุดศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ลักษณะทรงไทยประยุกต์

- หลวงพ่อหงส์ทอง พระประธานในอุโบสถสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

- ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์

- โรงเรียนผู้สูงอายุ

 

หัวเรื่อง

วัดในจังหวัดนครราชสีมา

หมวดหมู่

ศาสนสถาน

คำสำคัญ

วัด

ข้อมูลการติดต่อ

ที่อยู่:143 ถนนเบญจรงค์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000
แผนที่:https://goo.gl/maps/QtSxEFRfzAVmX6bM6

รายการอ้างอิง

  1. กระทรวงศึกษาธิการ. กรมการศาสนา. (2542). ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 17. กรุงเทพฯ: กระทรวง.
  2. สถาบันราชภัฏนครราชสีมา. ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม. ของดีโคราช เล่มที่ 2 สาขาศิลปะและภาษา. นครราชสีมา: สถาบัน.
  3. ณัฐกุล คำมะวงค์. พิษณุ ใจกล้า. วนัสนันท์ บริสุทธิ์. (2557). วัดในอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา : วัดบุ่ง วัดหนองจะบก วัดหงษาราม วัดศาลาเย็น วัดศาลาทอง. นครราชสีมา: สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.