วัดตะกุด


รายละเอียด

ประวัติความเป็นมา

    ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2425 สังกัดมหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2452 มีเรื่องเล่าความเป็นมาของวัดว่า มีพระธุดงค์มาปักกลด ชาวบ้านจึงนิมนต์ให้มาอยู่จำพรรษา โดยสร้างกุฏิหลังเล็ก ๆ ให้ และต่อมาก็มีพระสงฆ์มาอยู่จำพรรษามากขึ้น โดยมีชื่อเดิมว่า วัดตะกุดอีแรด คำว่า ตะกุด หมายถึง หนองน้ำ คำว่า อีแรด หมายถึง แรด สัตว์ป่าที่ลงมาจากเขาป่าภูหลวง และแวะมาดื่มน้ำที่ตีนเขา หรือ หนองน้ำตะกุด จึงได้ตั้งชื่อว่า วัดตะกุดอีแรด ต่อมาได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา จึงตัดคำว่า อีแรด ออก เหลือคำว่า วัดตะกุด และวัดได้สร้างรูปปั้นแรด เพื่อเป็นกุศโลบายให้ผู้พบเห็นได้สอบถามประวัติความเป็นมา

ลักษณะวัด พัทธสีมา

ประเภทวัด วัดราษฎร์

อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย โบสถ์ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ และหอกลอง-ระฆัง 

การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ

1. พระนา

2. พระนิ่ม

3. พระครูโพธาภิธาน พ.ศ. 2429-2502

4. พระครูธวัชชโยดม พ.ศ. 2503-2522

5. พระโชติ อภิโชติโก พ.ศ. 2531-2536

6. พระหล่อ กิตฺติวณฺโณ พ.ศ. 2537

7. พระใบฏีกาพิสิษฐ์ ปิยวณฺโณ

8. พระครูกิตติชัยวัตร 2561

9. พระครูโกศลธรรมวิบูล เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

สิ่งที่น่าสนใจ

- ภาพจิตรกรรมฝาผนัง เขียนบนไม้กระดานที่คอสองศาลา เป็นเรื่องพระอดีตพุทธเจ้าและประวัติพระสาวกเขียนเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2463

- พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ที่เก็บรวบรวมข้าวของ เครื่องใช้ วิถีความเป็นอยู่ เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน และบุคคลทั่วไป

- พ.ศ. 2558 วัดพัฒนาตัวอย่างจังหวัดนครราชสีมา

หัวเรื่อง

วัดในจังหวัดนครราชสีมา

หมวดหมู่

ศาสนสถาน

คำสำคัญ

วัด

ข้อมูลการติดต่อ

ที่อยู่:92 บ้านน้อย หมู่ที่ 2 ตำบลงิ้ว อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา 30150

รายการอ้างอิง

  1. กระทรวงวัฒนธรรม. (2561). 701 ชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ เล่ม 4 นครราชสีมา นครศรีธรรมราช. กรุงเทพฯ: กระทรวง. กระทรวงศึกษาธิการ.
  2. กรมการศาสนา. (2542). ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 17. กรุงเทพฯ: กระทรวง. สถาบันราชภัฏนครราชสีมา. ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม. ของดีโคราช เล่มที่ 2 สาขาศิลปะและภาษา. นครราชสีมา: สถาบัน.
  3. สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครราชสีมา. ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ. บัญชีรายชื่อวัดในจังหวัดนครราชสีมา (ปี 2560). สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2562, จาก http://sites.google.com/a/secondary33.go.th/sanakngan-phraphuthth-sasna-canghwad-nkhrrachsima/baychi-ray-chux-wad-ni-canghwad-nkhrrachsima-pi2560