วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม (ธ) หรือ วัดพระขาว


รายละเอียด

ประวัติความเป็นมา

        ตั้งเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2514 สังกัดคณะธรรมยุต ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. 2515 เป็นวัดที่เกิดจากดำริของพระสุทธิธรรมรังสีคัมภีร์เมธาจารย์หรือท่านพ่อลี ที่จะสร้างวัดขึ้น ณ เชิงเขาสีเสียดอ้าไปพร้อมกับการสร้างพระพุทธรูปไว้บนเนินเขา แต่ยังมิได้สร้างพระพุทธรูปก็ได้มรณภาพก่อน

ลักษณะวัด พัทธสีมา

ประเภทวัด วัดราษฎร์

อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย อุโบสถ หอฉันภัตตาหาร ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ ศาลาบำเพ็ญกุศล และฌาปณสถาน

การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ

1. พระญาณสิทธาจารย์ [สิงห์ สุนฺทโร (หลวงปู่เมตตาหลวง)] พ.ศ. 2516

2. พระราชวิมลญาณ วิ. (ทองใส จุทโสภโณ) -2558

3. หลวงพ่อทองใส จันทโสภโณ

4. พระครูพิทักษ์ธรรมานุยุต เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

สิ่งที่น่าสนใจ

1. แหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธด้านรูปเคารพและวัตถุมงคล เช่น

- พระพุทธสกลสีมามงคล ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า หลวงพ่อขาว เป็นพระพุทธรูปปางประทานพรที่ใหญ่ที่สุดในโลก ขนาดหน้าตักกว้าง 27.25 เมตร สูง 45 เมตร สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก โดดเด่นอยู่บนยอดเขาสูงจากระดับพื้นดิน 112 เมตร ทางซ้ายและทางขวาขององค์พระพุทธรูป สร้างโค้งเว้าในลักษณะใบโพธิ์ บันไดทั้งหมด มี 1,250 ขั้น (นับรวมทั้งทางด้านซ้ายและด้านขวา) หมายถึง จำนวนพระอรหันต์ที่ไปชุมนุมกันโดยมิได้นัดหมายในวันมาฆบูชา องค์พระพุทธรูปประดิษฐานอยู่เหนือพื้นดิน 112 เมตรหรือ 56 วา หมายถึง พระพุทธคุณ 56 ประการ องค์พระสูง 45 เมตร หมายถึง พระพุทธองค์โปรดเวไนยสัตว์อยู่ 45 พรรษา หรือเรียกว่า ทรงทำพุทธกิจอยู่ 45 พรรษา หลังจากที่ตรัสรู้แล้ว

- ถ้ำต่าง ๆ เช่น พระตำหนักสมเด็จ พระพุทธรูปปางป่าเลไลย์ สวนป่าเจ้าแม่กวนอิม

- ศูนย์สุขภาพประจำวัดสายสัมพันธ์วัด-โรงพยาบาล-อนามัยเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา

- สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนครราชสีมา แห่งที่ 178

- ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์

เกียรติประวัติ

- อุทยานการศึกษาในวัด ประจำปี พ.ศ. 2540

- วัดพัฒนาตัวอย่าง ประจำปี พ.ศ. 2545

- วัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2547

หัวเรื่อง

วัดในจังหวัดนครราชสีมา

หมวดหมู่

ศาสนสถาน

คำสำคัญ

วัด, ธรรมยุติกนิกาย

ข้อมูลการติดต่อ

ที่อยู่:หมู่ที่ 9 บริเวณเขาสีเสียดอ้า บ้านกลางดง ทางฝั่งขวาของทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ตรงหลักกิโลเมตรที่ 150 มีทางแยกเข้าไปอีก 2 กิโลเมตร ตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 30320
แผนที่:https://goo.gl/maps/8mJxt5tWz3bjMHQP9

รายการอ้างอิง

  1. กระทรวงศึกษาธิการ. กรมการศาสนา. (2542). ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 17. กรุงเทพฯ: กระทรวง.
  2. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. สำนักงานนครราชสีมา. (ม.ป.ป.). เส้นทางศรัทธามหามลคลไหว้พระโคราช 9 มงคลสถาน 2 วิหารลานบุญ. นครราชสีมา: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
  3. สำนักงานนครราชสีมา. เทิดชาย บำรุง. (2553). พลวัตการท่องเที่ยวอีสานใต้ : ค้นหารอยยิ้มร่วมสมัยแห่งกาลเวลาผ่านงานวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
  4. วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2556, จาก http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=anotherside&month=07-2009&date=14&group=24&gblog=89
  5. สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครราชสีมา. ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ. บัญชีรายชื่อวัดในจังหวัดนครราชสีมา (ปี 2560). สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2563, จาก http://sites.google.com/a/secondary33.go.th/sanakngan-phraphuthth-sasna-canghwad-nkhrrachsima/baychi-ray-chux-wad-ni-canghwad-nkhrrachsima-pi2560