สร้างขึ้นตามรูปแบบสถาปัตยกรรมเขมรโบราณ ศิลปะแบบบายนในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็น อโรคยาศาล หรือ ศาสนสถานประจำสถานพยาบาล ตามคติความเชื่อพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ก่อสร้างด้วยศิลาแลงและหินทราย มีประสาทอยู่ตรงกลาง หันด้านหน้าไปทางทิศตะวันออก มีวิหารและบรรณาลัย อยู่มุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทประธาน หันด้านหน้าไปทางทิศตะวันตก โคปุระหรือซุ้มประตูทางเข้าอยู่ทางทิศตะวันออก มีแผนผังเป็นรูปกากบาท แนวกำแพงสร้างต่อออกจากสองข้างของโคปุระ ล้อมรอบโบราณสถานทั้งหมด ห่างจากมุมกำแพงทิศตะวันออกเฉียงเหนือเล็กน้อย เป็นที่ตั้งของสระน้ำรูปสี่เหลี่ยม นอกกำแพงด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีสระน้ำขนาดเล็กก่อด้วยศิลาแลง ปัจจุบันปราสาทนางรำได้รับการบูรณะ และมีการปรับสภาพพื้นที่โดยรอบให้เป็นแหล่งเรียนรู้และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
ปราสาทนางรำได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 53 ตอนที่ 34 วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2479 และประกาศกำหนดขอบเขตโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 53 ตอนที่ 34 วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2524 พื้นที่โบราณสถาน 13 ไร่ 2 งาน 92 ตารางวา
ที่มาของชื่อปราสาทนางรำ:
เนื่องจากในอดีตเคยมีรูปนางรำ เป็นหินสีเขียวทำแบบเทวรูป อยู่ทางทิศตะวันตกของวิหารห่างไป 1.5 กิโลเมตร ปัจจุบันเหลือแต่ร่องรอยของเทวสถานและแท่นหิน
แหล่งศิลปกรรมทองถิ่นจังหวัดนครราชสีมา: ประเภทแหล่งศิลปกรรม
การเดินทาง:
เริ่มต้นจากอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ไปตามทางหลวงหมายเลข 2 (นครราชสีมา-ขอนแก่น) ประมาณ 62 กิโลเมตร ถึงแยกบ้านวัด เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 207 ไปประมาณ 22 กิโลเมตรถึงบ้านหญ้าคา จากนั้นเลี้ยวซ้ายทางเข้าวัดปราสาทนางรำอีก 4 กิโลเมตร
ปราสาทหิน
โบราณสถาน
ปราสาทหิน, ปรางค์, กู่, สถานที่ท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
ที่อยู่: | บ้านนางรำ ตำบลนางรำ อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา 30180 |