หมี่ขั้นหางกระรอกลายขอนาคน้อย


รายละเอียด

หมี่ขั้นหางกระรอกลายขอนาคน้อย เป็นการคิดค้นของบรรพบุรุษชาวบ้านคึมมะอุ-สวนหม่อน ได้รับการคัดเลือกให้เป็นลายเอกลักษณ์ของอำเภอบัวลาย ที่สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ลวดลายเป็นการลอกเลียนแบบศิลปะตามแบบโบราญสถาน เช่น บันไดโบสถ์ ศาลาการเปรียญ ที่เป็นรูปพญานาค มาดัดแปลงให้เข้ากับเส้นไหม โดยการมัดหมี่ ให้เป็นลวดลายตามที่เห็นในปัจจุบัน หมี่ขั้นหางกระรอกลายขอนาคน้อย เป็นผ้าไหมที่มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นอยู่ในตัว มีทั้งความอ่อนช้อยและดูเข้มแข็งดุจพญานาคที่เป็นเจ้าบาดาล สีสันสวยงามทันสมัยไม่ตกยุค หญิงสาวชาวบ้านคึมมะอุ-สวนหม่อน ทุกคนจะต้องทอผ้าหมี่ขั้นหางกระรอกลายขอนาคน้อย เพื่อเป็นผ้าสำหรับไหว้ญาติผู้ใหญ่เจ้าบ่าว สมัยก่อนจะสวมใส่เฉพาะหญิงสูงวัยเท่านั้น ปัจจุบันสามารถสวมใส่ได้ทุกวัยและทุกเทศกาล นิยมใส่เป็นผ้าถุง หรือโจงกระเบน ปัจจุบันมีการนำมาตัดเป็นชุดเสื้อผ้าสำเร็จรูป

อัตลักษณ์/จุดเด่นของผลิตภัณฑ์: ทอมือด้วยกี่บ้าน ใช้ไหมเส้นเล็ก เป็นการนำไหมมาหมัดหมี่เเล้วทอด้วยมือ

ชนิดผ้า: ผ้าไหม, ผ้าฝ้าย

รางวัลที่ได้รับ: ปี 2542 ในการประกวดที่พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร

หัวเรื่อง

ผ้าพื้นเมืองจังหวัดนครราชสีมา

ข้อมูลการติดต่อ

ที่อยู่:กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรคึมมะอุ-สวนหม่อน หมู่ที่ 3 ตำบลหนองหว้า อำเภอบัวลาย จังหวัดนครราชสีมา 30120

รายการอ้างอิง

  1. ประวัติหมี่ขั้นลายขอนาคน้อย. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2557, จาก http://www.cddkorat.com/prampur/civil-new.php?id_act=6700