แจง


รายละเอียด

ชื่อวิทยาศาสตร์: Maerua siamensis (Kurz) Pax

ชื่อวงศ์: CAPPARACEAE

ชื่ออื่น: แกง แจ้ง (นครราชสีมา) แจง (ทั่วไป)

ลักษณะวิสัย:

- ลำต้น ไม้ต้นขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 4-8 ม. แตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม เปลือกต้นสีเทาดำ

ใบ ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อย 2-5 ใบ แผ่นใบเรียบหนาแข็ง เขียวเข้ม ขอบใบเรียบ ปลายใบตัดเว้าเล็กน้อย

ดอก สีเขียวอมขาว ออกดอกตามซอกใบหรือปลายกิ่ง ออกดอกเดือนมกราคม-มีนาคม

ผล ผลรูปรี หรือกลม แข็ง เมล็ดรูปไต

รส ขมเล็กน้อย

การขยายพันธุ์: การเพาะเมล็ด

การใช้ประโยชน์:

- ด้านอาหาร ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอกสด ใช้ดอง รับประทานร่วมกับน้ำพริก มีรสขมเล็กน้อย

ด้านสมุนไพร ราก บำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ แก้ปวดเมื่อย แก้ปัสสาวะพิการ เปลือกต้น ราก และใบ ต้มน้ำดื่ม แก้ดีซ่าน หน้ามืด ตาฟาง ไข้มาลาเรีย ใบ และยอด ตำโขลก ใช้สีฟันทำให้ฟันทน ลำต้น ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดหลัง บำรุงธาตุ

ต้นแจง หรือ ต้นแกง หรือ ต้นแก้ง ได้นำชื่อต้นไม้ไปใช้ในการตั้งชื่อบ้าน ตำบล หรืออำเภอ ในจังหวัดนครราชสีมา เช่น อำเภอแก้งสนามนาง เป็นต้น

หัวเรื่อง

พฤกษาพรรณบรรณสาร : ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

หมวดหมู่

พืช

คำสำคัญ

ไม้พื้นถิ่น, พืชป่าที่เป็นอาหาร, ต้นไม้

ข้อมูลการติดต่อ

ที่อยู่:ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000

คลังภาพ

เปลือก
ดอก

รายการอ้างอิง

  1. กรมป่าไม้. [(2555)]. พรรณไม้ป่าพื้นบ้านอาหารชุมชน : เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระเกียรติพระชนมพรรษา 80 พรรษา 12 สิงหาคม 2555. กรุงเทพฯ: กรม.
  2. ทักษิณ อาชวาคม ... [และคนอื่น ๆ]. (2551). พืชกินได้ในป่าสะแกราชเล่ม 1.  ปทุมธานี ; นครราชสีมา : สถานีวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ; สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช.
  3. หนูเดือน เมืองแสน...[และคนอื่นๆ]. (2557). พรรณไม้ใน มทส.. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.