นนทรี


รายละเอียด

ชื่อวิทยาศาสตร์Peltophorum pterocarpum (DC.) K.Heyne
ต้นไม้ประจำจังหวัดนนทบุรี และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่ออื่นกว่าเซก (เขมร-กาญจนบุรี) คางรุ้ง คางฮ่ง (พิษณุโลก) จ๊าขาม ช้าขม (ลาว) ตาเซก (เขมร-บุรีรัมย์) นนทรีป่า (ภาคกลาง) ราง (ส่วย-สุรินทร์) ร้าง อะราง อะล้าง (นครราชสีมา) อินทรี (จันทบุรี)
ลักษณะวิสัย:ไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 15-30 ม. เรือนยอดเป็นรูปพุ่มกลมทึบ
ต้นเปลือกต้นสีทองหรือสีเทาอมน้ำตาล
ใบเป็นช่อแบบขนนกสองชั้น
ดอกออกดอกเป็นช่อตามชอกใบ ตามกิ่งหรือปลายยอด ดอกมีสีเหลือง มีกลีบดอก 5 กลีบ ออกดอกประมาณเดือนมกราคม-มีนาคม มีสีเหลือง กลีบรองดอกมี 5 กลีบ กลิ่นดอกหอมอ่อน ๆ
ผลเป็นฝักแบนรูปหอก
การขยายพันธุ์การเพาะเมล็ด
ประโยชน์ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร ยอด ฝักอ่อนใช้เป็นอาหารประเภทผักเหนาะรสชาติฝาด มัน เปลือก นำไปต้มแล้วจะให้สีน้ำตาลอมเหลือง ใช้ย้อมผ้าฝ้ายบาติก ในเกาะชวา อินโดนีเซีย ไม้ใช้ก่อสร้างทำเครื่องเรือน สรรพคุณทางสมุนไพร เปลือก มีสารแทนนิน ใช้รักษาโรคท้องร่วง หรือนำไปเคี่ยวเข้าน้ำมัน นวดแก้ตะคริว กล้ามเนื้ออักเสบ รับประทานเป็นยากล่อมเสมหะ แก้โรคท้องร่วง เป็นยาขับลม ปลูกเป็นไม้ประดับ

หัวเรื่อง

พฤกษาพรรณบรรณสาร : ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

รายการอ้างอิง

  1. นนทรี. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2558, จาก http://frynn.com/นนทรี/ นนทรี. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2558, จาก http://www.kaweeclub.com/b114/copper-pod-yellow-flame/ เอื้อมพร วีสมหมาย และทยา เจนจิตติกุล. (2544). พฤกษาพัน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ เอช.เอน กรุ๊ป.