ปีบทอง


รายละเอียด

ชื่อวิทยาศาสตร์Radermachera ignea (Kurz) Steenis
ชื่อวงศ์BIGNONIACEAE
ชื่ออื่นกากี (ภาคใต้ สุราษฎร์ธานี), กาสะลองคำ (เชียงราย), แคะเป๊าะ สะเภาหลามต้น (ลำปาง), จางจือ (ชัยภูมิ มุกดาหาร), สะเภา (ภาคเหนือ), อ้อยช้าง (กาญจนบุรี อุตรดิตถ์)
ลักษณะวิสัย:ไม้ต้นผลัดใบ สูง 10-20 ม. ลำต้นตรง ทรงแคบ เปลือกสีน้ำตาลอ่อน
ใบใบประกอบแบบขนนกสองหรือสามชั้น เรียงแบบตรงข้ามใบย่อย รูปรี รูปไข่ หรือขอบใบขนาน ฐานใบแหลม ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบด้านบนสีเขียวเป็นมัน ด้านล่างสีอ่อนกว่า มีต่อมสีเขียวประปรายก้านใบพองออกที่ฐาน ที่ข้อมักมีแต้มสีแดง
ดอกออกดอกช่วงกุมภาพันธ์-พฤษภาคม ออกเป็นช่อ แบบช่อกระจุก มักออกตามลำต้นหรือกิ่งก้าน กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมกันเป็นหลอด ตอนปลายแยกเป็น 5 แฉก หลอดด้านหนึ่งเป็นพูลึกถึงกึ่งกลางหลอด สีม่วงแดง กลับดอกมี 5 กลีบ โคลนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปทรงกระบอก ปลายแยกเป็นพูสั้นๆ 5 กลีบ สีเหลืองทองหรืออมส้ม เกสรเพศผู้มี 4 อัน
ผลฝักยาว เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดมีปีก
การขยายพันธุ์ไหล เพาะเมล็ด
ประโยชน์เปลือกต้น ต้มน้ำดื่มแก้ท้องเสีย ใบตำคั้นทาหรือพอกใช้รักษาแผลสด แผลถลอก ห้ามเลือด ดอก ให้สีสวยงาม เหมาะปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ

หัวเรื่อง

พฤกษาพรรณบรรณสาร : ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

คลังภาพ

เปลือก
ดอก

รายการอ้างอิง

  1. หนูเดือน เมืองแสน...[และคนอื่นๆ]. (2557). พรรณไม้ใน มทส.. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.