ชื่อวิทยาศาตร์ | Ruellia tuberosa Linn. |
ชื่อวงศ์ | ACANTHACEAE |
ชื่ออื่น | - |
ลักษณะวิสัย: | |
ต้น | ไม้ล้มลุก สูง 20-30 ซม. ลำต้นจะมีขนอ่อนๆ ขึ้นปกคลุมอยู่เล็กน้อย |
ใบ | ใบเดี่ยวออกตรงข้าม รูปรี กว้าง 3-4 ซม. ยาว 6-8 ซม. โคนใบสอบ ปลายใบมน ขอบเป็นคลื่นเล็กน้อยใบเดี่ยว เรียงกันเป็นคู่ๆ ไปตามข้อต้น |
ดอก | ดอกสีม่วงถึงชมพูอ่อน ออกเป็นช่อตามซอกใบ กลีบรองดอกส่วนโคนเชื่อมกัน ปลายแยกเป็นแฉกแหลม 5 แฉก กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ส่วนบนโค้งเล็กน้อย ปลายแผ่แยกเป็น 5 กลีบ ขนาดดอกกว้าง 3.5 ซม. เกสรผู้ 4 อัน สั้น 2 ยาว 2 |
ผล | ผลเป็นฝักรูปกระสวย ยาว 2-2.5 ซม. สีเขียวเมื่อแก่เป็นสีน้ำตาลเข้ม เมื่อถูกน้ำหรือความชื้นมากๆ จะแตก ดีดเป็น 2 ซีก ภายในมี 8 เมล็ด |
รส | - |
การกระจายพันธุ์ | พบขึ้นกระจายทั่วไปตามประเทศเขตร้อน ตามที่เปิดชื้นและที่รกร้างว่างเปล่า ออกดอกและติดผลช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม |
ประโยชน์: | รากของต้อยติ่งสามารถใช้เป็นยารักษาโรคไต โรคไอกรน หรือแม้แต่เป็นยาขับเลือด ถ้าใช้ในปริมาณที่เจือจางก็สามารถกำจัดสารพิษในเลือด บรรเทาอาการสารพิษตกค้างในปัสสาวะ ส่วนใบของต้อยติ่งสามารถใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ หรือใช้พอกแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้ แต่ต้อยติ่งมักจะถูกถอนทิ้งเพราะมักถูกมองว่าเป็นวัชพืช |
พฤกษาพรรณบรรณสาร : ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี